Search

ธปท.เล็งหาเกณฑ์คุม Credit Term หวังช่วยป้องกัน SME ขาดสภาพคล่อง - efinanceThai

koi.prelol.com

   ธปท. - ม.หอการค้า -สศช. เล็งหาเกณฑ์มาตรฐาน Credit Term หลังพบรายใหญ่จ่ายหนี้ให้ SME ล่าช้า เสี่ยงทำผู้ประกอบการขาดสภาพคล่อง คาดเสนอครม.เร็วๆนี้ หวังบังคับใช้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ต้นเดือน ธ.ค. 63

   นางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ ที่ปรึกษา ประจำสภามหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงแนวทางการกำหนดมาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (Credit term) ในประเทศไทย ว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกำหนดมาตรฐานระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า หลังพบว่า Credit Term ที่เอสเอ็มอีได้รับจากคู่ค้าเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 60-120 วัน ส่งผลให้เอสเอ็มอีมีความเสี่ยงที่จะขาดสภาพคล่องจากการถูกขยายเวลาเครดิต

   โดยหลักเกณฑ์นั้นเพื่อใช้สำหรับการซื้อ-ขายระหว่างภาคธุรกิจ โดยให้มีผลบังคับใช้และบทลงโทษทางกฎหมาย รวมถึงมีแรงจูงใจด้านบวกให้กับภาคธุรกิจปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่องและเคร่งครัด

   “ปัจจุบัน พบว่า เอสเอ็มอีที่ทำธุรกิจหรือเป็นคู่ค้าให้กับธุรกิจขนาดใหญ่ และบางส่วนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ด้วย ถูกขยายเวลา credit term ยาวขึ้น เนื่องจากมีอำนาจในการต่อรองค่อนข้างมาก ซึ่งบางครั้งพบว่ามีการขยายเวลาการชำระถึง 120 วัน ทำให้เอสเอ็มอีได้รับผลกระทบในด้านสภาพคล่อง”นางเสาวนีย์ กล่าว

   นางสาวฐิตา เภกานนท์ เศรษฐกรอาวุโส ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธปท. กล่าวว่า สำหรับหลักเกณฑ์เบื้องต้นนั้น 1.จะกำหนดเกณฑ์มาตรฐานระยะเวลา credit term โดยลูกหนี้การค้าจะต้องชำระหนี้ให้แก่คู่ค้าภายในเวลา 30-45 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละประเภทธุรกิจ

   2.กำหนดให้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยข้อมูลระยะเวลา credit term โดยเฉลี่ยในการจัดทำแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และนำข้อมูลดังกล่าวเป็นหนึ่งในเงื่อนไขการประเมิน socially responsible investing เช่น การประเมินให้ตราสัญลักษณ์ของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลแห่งชาติ (CGR) เพื่อส่งเสริมธรรมาภิบาลของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น

   3.มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจสำหรับภาคธุรกิจให้มีแนวปฏิบัติที่ดี ในการลดเวลา credit term เช่น กรมบัญชีกลางจัดสรรโควต้าสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ สถาบันการเงินกำหนดสิทธิพิเศษทางการเงินและการเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ เป็นต้น

   นางสาวฐิตา กล่าวว่า จากการกำหนดหลักเกณฑ์นั้น ได้ศึกษากรณีจากต่างประเทศ ทั้งกลุ่มประเทศที่ใช้แนวปฏิบัติ ทั้งสหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย รวมทั้งกลุ่มที่มีกฎหมายบังคับใช้ คือ อียู และจีน ที่กำหนดให้ชำระค่าสินค้าภายใน 30-60 วัน หากผิดนัดจะมีบทลงโทษ ทั้งเสียค่าปรับและจ่ายดอกเบี้ย โดยของจีนนั้น ได้กำหนดบทลงโทษ คือ จะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ 1 ปีตามอัตราตลาดให้กับคู่ค้า โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา

   ขณะที่กลุ่ม EU นั้น จะต้องชำระค่าสินค้าระหว่างกันภายใน 60 วัน โดยหากผิดนัดจะต้องเสียค่าปรับเป็นดอกเบี้ยจ่าย และชดเชย Recovery cost ขั้นต่ำ 40 ยูโร

   นายจิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธปท. กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้เห็นชอบในหลักการถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ซึ่งหลังจากนั้น สศช. จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติเห็นชอบต่อไป โดยคาดว่า จะมีผลบังคับใช้ในช่วงต้นเดือน ธ.ค.นี้

   ทั้งนี้ ภายหลังจาก ครม.เห็นชอบแล้ว จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงพาณิชย์ และสำนักงานแข่งขันทางการค้าไปพิจารณาทำรายละเอียดและกฎเกณฑ์ต่างๆ ทั้งบทลงโทษ​ ซึ่งจะมีทั้งเบี้ยปรับ และการจ่ายดอกเบี้ยให้คู่ค้าด้วย

   “เบื้องต้นเราจะทำกับรายใหญ่ก่อน โดยอุตสาหกรรมภาคการผลิต จะต้องมีรายได้ 500 ล้านบาท การจ้างงาน 200 คน ด้านภาคบริการ รายได้ 300 ล้านบาท การจ้างงาน 100 คน เป็นต้น”นายจิตเกษม กล่าว

Let's block ads! (Why?)



"ภาคบังคับ" - Google News
September 25, 2020 at 03:03PM
https://ift.tt/3655147

ธปท.เล็งหาเกณฑ์คุม Credit Term หวังช่วยป้องกัน SME ขาดสภาพคล่อง - efinanceThai
"ภาคบังคับ" - Google News
https://ift.tt/2YaK1os
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://koi.prelol.com/

Bagikan Berita Ini

0 Response to "ธปท.เล็งหาเกณฑ์คุม Credit Term หวังช่วยป้องกัน SME ขาดสภาพคล่อง - efinanceThai"

Post a Comment

Powered by Blogger.