Search

New China Insights: คนจีนยุคใหม่กับเรื่องของการศึกษา - ผู้จัดการออนไลน์

koi.prelol.com
ผู้เขียน ร่มฉัตร จันทรานุกูล มหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และธุรกิจระหว่างประเทศ วิทยาลัยนานาชาติ กรุงปักกิ่ง (UIBE)

วันนี้ผู้เขียนจะขอเล่าเกี่ยวกับการศึกษาในระดับสูงของจีน แนวโน้มการเติบโตและวิชาเอกยอดฮิตของเด็กจีนยุคใหม่ คุณภาพของประชากรและแรงงานที่ดีจะนำพาความก้าวหน้ามาสู่ประเทศ คนเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาที่สำคัญ จากข้อมูลตัวเลขล่าสุดปี 2019 จีนมีประชากรที่เรียนจบการศึกษาระดับสูง (ปริญญาตรีหรือสายอาชีพที่เทียบเท่า) มีประมาณ 12% ของประชากรทั้งประเทศ การเข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยหรือเทียบเท่าของประชาชนช่วงอายุ 18-22 ปีของจีนมีอัตราส่วน 51.6 เปอร์เซ็นต์ โดยตัวเลขของจำนวนวัยรุ่นที่เข้าเรียนระดับมหาวิทยาลัยหรือเทียบเท่ามีอัตราเพิ่มขึ้นทุกปี จากปี 2015 ที่มีจำนวนนักศึกษาในระดับการศึกษาระดับสูงทั้งสิ้น 36 ล้านคน 5 ปีผ่านไปจนถึงปี 2019 จำนวนนักศึกษาในการศึกษาระดับสูงของทั้งประเทศเพิ่มเป็น 40 ล้านคน ปัจจุบันจีนมีสถาบันการศึกษาระดับสูง 2,688 แห่งทั่วประเทศ

การศึกษาภาคบังคับของจีนครอบคลุม 2 ระดับคือ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น รวม 9 ปี โดยการศึกษาภาคบังคับนี้รัฐบาลเป็นฝ่ายรับผิดชอบค่าเรียน ทั้งนี้ก่อนช่วงปี 1945 คนจีนที่ไม่รู้หนังสือมีมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ หลังการสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ประธานเหมา เจ๋อตงพูดไว้ว่า “การทำให้คนทั่วไปรู้หนังสือ เป็นงานใหญ่ที่สำคัญของจีนใหม่” จนถึงปัจจุบันอัตราเข้าเรียนในภาคการศึกษาภาคบังคับของจีนตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมาคงตัวที่อัตรา 99.94 เปอร์เซ็นต์แสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันคนจีนเกือบทั้งประเทศได้เข้าถึงการศึกษาภาคบังคับ ในส่วนของการเรียนระดับมัธยมปลายไม่ได้เป็นการเรียนภาคบังคับแต่อัตราการเข้าเรียนต่อก็อยู่ในระดับสูงประมาณ 89.5 เปอร์เซ็นต์ การศึกษาระดับมัธยมปลายของจีนยังแบ่งเป็นสองภาคส่วนคือ มัธยมปลายภาคปกติกับมัธยมปลายภาคพิเศษ(การศึกษาผู้ใหญ่) โดยโรงเรียนมัธยมภาคปกติมีจำนวน 14,000 แห่ง ส่วนมัธยมภาคพิเศษมีจำนวนเพียง 333 แห่งเท่านั้น

เด็กจีนจำนวนหนึ่งหลังจบการศึกษามัธยมต้นก็เข้าศึกษาต่อในสายอาชีพซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากความต้องการของตลาดแรงงาน คุณภาพการศึกษาสายอาชีพของจีนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและแข็งแกร่ง โดยสัดส่วนของเด็กที่เรียนจบมัธยมต้นแล้วไปต่อสายอาชีพมีจำนวนประมาณ 20 - 30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว สำหรับเด็กที่เรียนต่อในระดับมัธยมปลายภาคปกติเพื่อเตรียมสอบเข้ามหาวิทยาลัยมีประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ เด็กพวกนี้ต้องเรียนอย่างหนักในช่วงเวลา 3 ปีนี้เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยในฝัน โดยการรับนักศึกษาเข้าเรียนของมหาวิทยาลัยจีนทั่วประเทศก็เพิ่มขึ้นมาตลอด

การพัฒนาของจีนควบคู่มากับการพัฒนาการศึกษา ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมาจีนใช้เงิน 4 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ประเทศไปกับการพัฒนาการศึกษา โดยเฉพาะในพื้นที่ทุรกันดารที่เด็กต้องมีโอกาสได้รับการศึกษาภาคบังคับอย่างทั่วถึง ทั้งนี้จีนมีเป้าหมายเพิ่มการศึกษาภาคบังคับจาก 9 ปีเป็น 12 ปี (มัธยมปลาย) อีกด้วย

หลังปี 1990 จีนพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองดีขึ้น เกิดชนชั้นกลางจำนวนมาก คนยุคใหม่พวกนี้มีโอกาสมีทางเลือกและเข้าถึงการศึกษากันได้อย่างทั่วถึง แน่นอนว่าการพัฒนาของจีนต้องมีการติดต่อกับต่างประเทศ ดังนั้นการแลกเปลี่ยนและการออกไปศึกษาต่อต่างประเทศของคนจีนยุคใหม่กลายเป็นเทรนด์ของกลุ่มคนชั้นกลางที่มีศักยภาพด้านการเงิน จากตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติจีนรายงานตัวเลขล่าสุดของปี 2018 จำนวนนักศึกษาที่ออกไปเรียนต่อต่างประเทศมีจำนวนทั้งสิ้น 6.7 แสนคน จีนถือเป็นประเทศที่มีจำนวนนักศึกษาที่ออกไปเรียนต่อต่างประเทศมากที่สุดในโลก และตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมาจำนวนนักศึกษาที่ออกไปเรียนต่อต่างประเทศเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 8.8 เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศที่คนจีนเลือกไปเรียนต่อมากที่สุดได้แก่ อเมริกา อังกฤษ แคนาดา และออสเตรเลีย

แต่ในช่วง 2-3ปีที่ผ่านมานี้ นักศึกษาจีนเลือกที่จะไปเรียนต่อในประเทศแถบเอเชีย อย่าง สิงคโปร์ ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เพิ่มมากขึ้น ผู้เขียนเห็นว่าการเบนเข็มของคนจีนรุ่นใหม่ในการเรียนต่อต่างประเทศอย่าง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้เป็นเรื่องที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง

เด็กนักเรียนประถมจีนในพื้นที่ชนบทแห่งหนึ่ง (ภาพจาก Sohu.com)
สำหรับกลุ่มคนจีนที่ออกไปเรียนต่างประเทศ สัดส่วนของการออกไปเรียนระดับปริญญาตรีมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 60 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือระดับมัธยมปลาย 18 เปอร์เซ็นต์ ระดับปริญญาโทและเอก 14 เปอร์เซ็นต์ ระดับมัธยมต้น 5 เปอร์เซ็นต์ และระดับประถมมีเพียง 3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ณ ปัจจุบันค่านิยมของการส่งลูกหลานออกไปเรียนต่อต่างประเทศของคนจีนชั้นกลางกลายเป็นเรื่องปกติกันไปแล้ว

จากการที่จีนพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีโอกาสในการทำงานมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นักศึกษาที่เรียนจบต่างประเทศกลับมาประเทศตัวเองเพื่อหางานกันมากขึ้น เนื่องจากตลาดแรงงานในประเทศมีการแข่งขันสูง ทำให้คนจีนที่จบการศึกษาจากต่างประเทศหางานตำแหน่งดีๆยากขึ้น เพราะเด็กที่จบในประเทศเองก็มีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดแรงงานเช่นกัน ข้อมูลสถิติจาก Boss.com เว็บไซต์หางานรายใหญ่ของจีนระบุว่า ในกลุ่มนักเรียนจีนที่เรียนจบจากต่างประเทศและกลับมาหางานทำในจีน 40.3 เปอร์เซ็นต์หางานได้ภายในหนึ่งเดือน 36.8 เปอร์เซ็นต์หางานได้ภายในสามเดือน สรุปคือ ระยะเวลาการหางานของกลุ่มคนที่เรียนจบจากต่างประเทศนานขึ้นกว่าช่วงปี 2013 ที่หางานได้ง่ายและเวลาที่ใช้หางานสั้นกว่านี้

กลับมาดูการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยภายในประเทศจีน เรามาดูกันว่าเอกวิชาอะไรที่กำลังมาแรงในยุคนี้ จากสถิติของกระทรวงศึกษาจีนเผยถึงเอกวิชาที่มีคนเลือกเรียนมากที่สุดในปีนี้ 6 อันดับแรกได้แก่ 1. AI หรือปัญญาประดิษฐ์ 2.บิ๊กดาต้า (หรือฐานข้อมูลใหญ่) 3.ความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security) 4.เศรษฐศาสตร์และการเงิน 5.วิศวกรรมด้านต่างๆ 6. นิเทศศาสตร์และสารสนเทศ จากแนวทางการศึกษาต่อของเด็กจีนยุคใหม่ทำให้เราคาดการณ์การพัฒนาของจีนในอนาคตได้เป็นอย่างดี เพราะคนยุคใหม่คือกำลังผลักดันของชาติ อย่างปัจจุบันการพัฒนาทางธุรกิจด้านปัญญาประดิษฐ์ของจีนเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและยังขาดบุคลากรชำนาญการอยู่เป็นจำนวนมาก หน่วยงานธุรกิจพวกนี้ก็มีค่าตอบแทนที่ดีเงินเดือนสูงอีกด้วย

การพัฒนาด้านการศึกษาเป็นสิ่งที่ผู้นำจีนวางไว้เป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง ที่ผ่านมาจีนเรียนรู้จากสหภาพโซเวียด ต่อมาก็เรียนรู้จากชาติตะวันตก ปัจจุบันจีนบูรณาการและพัฒนารูปแบบการศึกษาในแบบของตัวเองขึ้นมาแล้ว การเติบโตอย่างรวดเร็วของจีนในปัจจุบันผูกติดกับการพัฒนาของศึกษาและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ภายใต้การแข่งขันบนเวทีโลกที่ดุเดือดจีนยังคงเดินต่อไปข้างหน้าและกำลังพัฒนาสิ่งใหม่ๆขึ้นตลอดเวลาเพื่อการพัฒนาของชาติบ้านเมืองอย่างมั่นคง

Let's block ads! (Why?)



"ภาคบังคับ" - Google News
September 26, 2020 at 11:31AM
https://ift.tt/3j8hAiA

New China Insights: คนจีนยุคใหม่กับเรื่องของการศึกษา - ผู้จัดการออนไลน์
"ภาคบังคับ" - Google News
https://ift.tt/2YaK1os
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://koi.prelol.com/

Bagikan Berita Ini

0 Response to "New China Insights: คนจีนยุคใหม่กับเรื่องของการศึกษา - ผู้จัดการออนไลน์"

Post a Comment

Powered by Blogger.