Search

สภาพัฒน์เป็นห่วงเด็กเลิกเรียนกลางคัน 6.7 แสนคน หวั่นเป็นจุดอ่อนพัฒนาประเทศ - มติชน

koi.prelol.com

สภาพัฒน์เป็นห่วงเด็กเลิกเรียนกลางคัน 6.7 แสนคน หวั่นเป็นจุดอ่อนพัฒนาประเทศ

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เปิดเผยถึงภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2563ว่า  จากรายงานภาวะสังคม สศช.พบปัญกาการเลิกเรียนกลางคัน ของเด็กและเยาวชน แม้จะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่พบว่าจะมีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาเพิ่มตามระดับการศึกษาที่สูงขึ้น โดยนักเรียนที่เข้าศึกษาประถมศึกษาปีที่ 1 ในระหว่างปีการศึกษา 2546–2548 มีนักเรียนกว่า 20% ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ (ม.ต้น) และมีนักเรียนกว่า 31% หลุดออกจากระบบการศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. และ 38% หลุดออกจากการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สาเหตุของการหลุดออกนอกระบบการศึกษา ซึ่งจากข้อมูลกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พบความยากจนถือเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้กลุ่มเด็กและเยาวชนไทยหลุดออกนอกระบบการศึกษามีมากกว่า 6.7 แสน คน รวมทั้งยังมีสาเหตุอื่นๆ อาทิ ปัญหาภายในครอบครัว ปัญหาแม่วัยใส การที่เด็กต้องดูแลคนป่วยคนพิการที่อยู่ในบ้าน ปัญหาการเจ็บป่วย รวมถึงการย้ายภูมิลำเนาตามผู้ปกครอง

นอกจากนี้ การหลุดออกนอกระบบการศึกษายังสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำ กลุ่มเด็กและเยาวชนในกลุ่มครัวเรือนที่รวยที่สุด (ครัวเรือนที่รวยสุด 10% บน) ได้เรียนต่อในระดับ ม.ปลาย/ปวช. 80.3% และได้เรียนต่อในระดับปวส./อุดมศึกษา 63.1% ขณะที่กลุ่มเด็กและเยาวชนในกลุ่มครัวเรือนที่ยากจนที่สุด (ครัวเรือนที่ยากจนที่สุด 10% ล่าง) ได้เรียนต่อระดับม.ปลาย/ปวช. เพียง 40.5% และได้เรียนต่อในระดับปวส./อุดมศึกษาเพียง 4.2%

นายทศพรกล่าวต่อว่า นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้มีสถานะอยู่ในการจ้างงาน การศึกษาและการฝึกอบรม หรืออาจกล่าวว่าไม่ได้อยู่ในกิจกรรมสะสมทุนมนุษย์ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2562 มีอยู่ 12.87% ของเยาวชนไทยในช่วงอายุ 15 ถึง 24 ปี หรือประมาณ 1.2 ล้านคน ผลกระทบของการหลุดออกนอกระบบการศึกษาก่อนวัยอันควร คือ  ทักษะแรงงานที่ต่ำและค่าแรงที่ต่ำตามมา ส่งผลต่อฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมของกลุ่มเด็กดังกล่าวในระยะยาวจนก่อให้เกิดวัฎจักรความจน โดยเฉพาะในกลุ่มครัวเรือนที่ยากจน

นอกจากนี้ทำให้ขาดแคลนแรงงานในระยะยาว เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างประชากรอย่างรวดเร็ว มีความเสี่ยงจากทักษะการทำงานที่มีอาจล้าสมัย ไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน เป็นอุปสรรคในการเพิ่มผลิตภาพทางการผลิต และการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศ

แนวทางการส่งเสริมเด็กและเยาวชนให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ดังนี้  ร่วมมือกับหน่วยงานและภาคีในพื้นที่ในการนำเด็กและเยาวชนให้กลับสู่ระบบการศึกษาหรือการพัฒนาทักษะอาชีพ และมุ่งเน้นวางแผน การช่วยเหลือเป็นรายกรณี  จัดตั้งหน่วยงานเฝ้าระวัง ป้องกัน โดยต้องมีระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในการติดตามช่วยเหลือเด็กและเยาวชน และสร้างเครือข่ายทั้งภาคการศึกษาและนอกการศึกษา ปรับวิธีการเรียนการสอนให้มีความยืดหยุ่นเหมาะกับสภาพปัญหาของเด็ก มีระบบสะสม โอนหน่วยกิต/เทียบวุฒิการศึกษา และมีรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย และ ศึกษาและแก้ปัญหาผ่านกลไกของรัฐ อาทิ การใช้กลไกภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อแก้ปัญหาตรงจุดและต่อเนื่อง

QR Code LINE @Matichon

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่

LINE @Matichon

matichon

Let's block ads! (Why?)



"ภาคบังคับ" - Google News
May 28, 2020 at 12:05PM
https://ift.tt/2ZH9lmU

สภาพัฒน์เป็นห่วงเด็กเลิกเรียนกลางคัน 6.7 แสนคน หวั่นเป็นจุดอ่อนพัฒนาประเทศ - มติชน
"ภาคบังคับ" - Google News
https://ift.tt/2YaK1os
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://koi.prelol.com/

Bagikan Berita Ini

0 Response to "สภาพัฒน์เป็นห่วงเด็กเลิกเรียนกลางคัน 6.7 แสนคน หวั่นเป็นจุดอ่อนพัฒนาประเทศ - มติชน"

Post a Comment

Powered by Blogger.