สภาพัฒน์ ประเมินผลกระทบไวรัสโควิด-19 ต่อภาคแรงงานไทยปีนี้ มีความเสี่ยงจะถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน ขณะที่เงินกู้ 4 แสนล้านบาท อาจช่วยสร้างงานกว่า 3 แสนตำแหน่ง
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาสแรกปี 2563 พบสัญญาณผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ต่อการจ้างงาน คือ สถานประกอบการ ขอใช้มาตรา75 ในการหยุดกิจการชั่วคราว 570 แห่ง ,มีผู้ว่างงาน 394,520 คน คิดเป็นอัตราการว่างงาน 1.03% เพิ่มขึ้นจาก 0.92 % เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนอัตราว่างงานปีนี้ คาดว่า จะอยู่ที่ 3-4% ของแรงงานทั้งระบบ หรือ ประมาณ 2 ล้านคน ใกล้เคียงวิกฤติต้มยำกุ้ง
นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒน์ คาดการณ์ว่า ตลอดทั้งปี 2563 แรงงานมีความเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงาน 3 กลุ่ม คือ แรงงานในภาคการท่องเที่ยว 2.5 ล้านคน ,แรงงานภาคอุตสาหกรรม 1.5ล้านคน และแรงงานในภาคบริการอื่นๆที่ไม่ใช่ภาคการท่องเที่ยว 4.4 ล้านคน ซึ่งผลกระทบจากโควิด จะชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง แต่เมื่อสถานการณ์ระบาดเริ่มคลี่คลายกิจกรรมเศรษฐกิจบางประเภท เปิดดำเนินการได้ ควบคู่กับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้พ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท น่าจะช่วยจ้างงานคนกลุ่มนี้ได้ประมาณ 3 แสนตำแหน่ง
นอกจากนี้ ผลกระทบจากภัยแล้งตั้งแต่กลางปี 2562 ต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกปีนี้ ส่งผลให้การจ้างงานภาคเกษตรลดลง และมีจำนวนแรงงานที่รอฤดูกาล 3.7แสนคน สูงที่สุดในรอบ 7 ปี โดย ณ เดือนเมษายน ได้มีการประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) จำนวน 26 จังหวัด และมีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบประมาณ 3.9 ล้านคน และเกษตรกรในพื้นที่อื่น ที่มีปริมาณน้ำน้อยและไม่สามารถทำกิจกรรมทางการเกษตรก็ได้รับผลกระทบอีกจำนวน 2.1 ล้านคน รวมเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งทั้งสิ้น 6 ล้านคน
สภาพัฒน์ คาดการณ์ว่า ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฏาคม จะมีแรงงานจบใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานประมาณ 5.2 แสนคน ซึ่งอาจไม่มีตำแหน่งงานรองรับ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการสร้างงานและจ้างงานเพื่อรองรับกลุ่มเสี่ยง แต่เชื่อว่า กลุ่มแรงงานจบใหม่ มีทักษะด้านดิจิทัล จะหางานได้ไม่ยาก เพราะช่วงโควิด ทำให้มีการปรับเปลี่ยนการทำงานผ่านออนไลน์และดิจิทัล มากขึ้น
ส่วนสถานการณ์หนี้ครัวเรือน อยู่ที่ 78.9% ต่อจีดีพี สูงที่สุดในรอบ 14 ไตรมาส แต่ปีนี้มีปัจจัยโควิด-19 ทำให้ขนาดเศรษฐกิจลดลง ครัวเรือนกู้เงินประกอบธุรกิจ เช่าซื้อรถยนต์และอสังหาริมทรัพย์ลดลง แต่กู้เงินอุปโภคบริโภคมากขึ้นแทน
อีกประเด็นที่สภาพัฒน์ เป็นห่วง คือ ปัญหาการเลิกเรียนกลางคัน ของเด็กและเยาวชน แม้จะมีแนวโน้มดีขึ้น แต่พบว่า จะมีเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา ตามระดับการศึกษาที่สูงขึ้น โดยนักเรียนที่เข้าศึกษาประถมศึกษาปีที่ 1 ในระหว่างปีการศึกษา 2546–2548 มีนักเรียนกว่า 20% ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ (ม.ต้น) และมีนักเรียนกว่า 31% หลุดออกจากระบบการศึกษา ก่อนสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. และ 38% หลุดออกจากการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
สาเหตุของการหลุดออกนอกระบบการศึกษา จากข้อมูลกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา พบว่า ความยากจน ถือเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้กลุ่มเด็กและเยาวชนไทย หลุดออกนอกระบบการศึกษา มีมากกว่า 6.7 แสนคน รวมทั้งยังมีสาเหตุอื่นๆ เช่น ปัญหาภายในครอบครัว ปัญหาแม่วัยใส การที่เด็กต้องดูแลคนป่วยคนพิการที่อยู่ในบ้าน ปัญหาการเจ็บป่วย รวมถึงการย้ายภูมิลำเนาตามผู้ปกครอง
สภาพัฒน์ ถอดบทเรียนจากวิกฤติโควิด-19 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจลดลง กระทบต่อการจ้างงาน วิถีชีวิตที่ต้องปรับเปลี่ยน ทุกอย่างเน้นการใช้ออนไลน์มากขึ้น แต่ก็ส่งผลต่อสุขภาพจิต และปัญหาครอบครัว เพราะรายได้ที่ลดลง การกักตัวอยู่บ้าน ส่วนคุณภาพสิ่งแวดล้อม จะเห็นได้ว่า สิ่งแวดล้อมถูกฟื้นฟูมากขึ้น แต่ปัญหาที่เพิ่มขึ้น คือ ขยะทางการแพทย์ ,ขยะพลาสติกจากโฮมเดลิเวอรี่
"ภาคบังคับ" - Google News
May 28, 2020 at 02:15PM
https://ift.tt/3c8NeIK
สศช.ห่วงแรงงานไทยเสี่ยงถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน - ผู้จัดการออนไลน์
"ภาคบังคับ" - Google News
https://ift.tt/2YaK1os
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://koi.prelol.com/
Bagikan Berita Ini
0 Response to "สศช.ห่วงแรงงานไทยเสี่ยงถูกเลิกจ้าง 8.4 ล้านคน - ผู้จัดการออนไลน์"
Post a Comment