Search

ท่าที 3 ธนาคารกลางหลัก หลังโควิด-19 - กรุงเทพธุรกิจ

koi.prelol.com

30 เมษายน 2563 | โดย ดร.บุญธรรม รจิตภิญโญเลิศ | คอลัมน์ มุมคิดธนกิจ

49

ส่องท่าทีของ 3 ธนาคารกลางหลัก ทั้งเฟดของสหรัฐ, บีโอเจของญี่ปุ่น และอีซีบีของฝั่งยุโรป ว่าจะมีทิศทางนโยบายไปในแนวทางใดต่อไป หลังจากช่วงโควิด-19 ต่างออกมาตรการการเงินต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเสริมสภาพคล่องมาแล้ว

สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสร่วมเป็นวิทยากร ในงานสัมมนาหัวข้อ “เจาะลึกผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจในมุมมองเศรษฐศาสตร์และมุมมองนักวิเคราะห์" ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผมจึงขอแชร์เนื้อหาในงาน รวมถึงในส่วนที่อัพเดตเพิ่มเติมดังนี้

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา มีผลประชุมของคณะกรรมการของธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือบีโอเจ สรุปว่า 1.ด้วยมติเอกฉันท์บีโอเจ ตัดสินใจเพิ่มมูลค่าการซื้อหุ้นกู้ภาคเอกชนและ Commercial Paper ทั้งหมด จาก 2 ล้านเยนมาเป็น 20 ล้านเยน โดยเน้นการซื้อช่วงไตรมาส 2 และ 3 ปีนี้เป็นพิเศษ

2.ด้วยมติ 8-1 เสียง บีโอเจตัดสินใจสำหรับ Yield Curve Control ในส่วนอัตราดอกเบี้ยระยะยาว จะซื้อพันธบัตรแบบไม่จำกัดเพื่อให้อัตราดอกเบี้ย 10 ปีเท่ากับศูนย์ และให้อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นที่ -0.1% ส่วนการซื้อตราสาร ETF หุ้นสามัญ และ J-REITS เพิ่ม 2 เท่า เป็น 12 และ 1.8 แสนล้านเยนตามลำดับ

3.บีโอเจตัดสินใจปล่อยสินเชื่อให้ SMEs คิดอัตราดอกเบี้ย 0% โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 0.1% ให้ current account ต่อสถาบันการเงินที่ฝากไว้ต่อธนาคารกลาง 

ซึ่งผมมองว่าทางบีโอเจยังต้องมีการกระตุ้นต่อในการประชุมครั้งถัดๆ ไป คราวนี้หันมาพิจารณาการประชุมในสัปดาห์นี้กันบ้าง ปรากฏว่ามี 2 เจ้าใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟด และธนาคารกลางยุโรปหรืออีซีบี ที่จะถึงคิวประชุมกันในวันนี้และพรุ่งนี้ตามลำดับ

ขอเริ่มจากเฟดก่อน ผมมองว่าในการประชุมในรอบนี้เฟดน่าจะประกาศทิศทางของนโยบายการเงินแบบล่วงหน้า หรือ Forward Guidance ว่าทางเฟดจะมีความมุ่งมั่นหรือ Commitment ที่จะไม่ให้เศรษฐกิจสหรัฐเกิดภาวะอัตราเงินฝืด อันเนื่องมาจากการตกต่ำของสภาวะเศรษฐกิจโดยรวม โดยเป็นไปได้ว่าจะคงนโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำ จนกระทั่งอัตราการว่างงานลดลงต่ำกว่า 4% หรือ 5% รวมถึงจนกระทั่งอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยมาอยู่ที่ 2-2.5%

รวมถึงอาจเป็นไปได้ว่าหลังจากประกาศมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ QE แบบที่ไม่จำกัด ทั้งวงเงินและอายุโครงการ ที่เรียกกันว่า QE-Infinity จะขยับไปอีกหนึ่งระดับ ด้วยการประกาศที่จะคงอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรอายุ 10 ปี ให้อยู่ที่ระดับใดระดับหนึ่ง อาทิ 0.2% ด้วยการซื้อพันธบัตรแบบไม่จำกัดหรือที่เรียกกันว่ามาตรการ Yield Curve Control เพื่อเป็นการลดทั้งระดับอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อระยะยาวในระบบและลดความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยระยะยาว รวมถึงมีส่วนช่วยให้ค่าเงินดอลลาร์มีความผันผวนน้อยลงอีกด้วย

นอกจากนี้ ผมยังมองว่ามาตรการความช่วยเหลือทางการเงินต่อภาคเอกชนของเฟด ตามแนวทางสินเชื่อแบบมีหลักประกันต่อภาคเอกชนในส่วนของ Main Street ยังมีโอกาสที่จะขยายหรือผ่อนคลายเงื่อนไข เพื่อให้สามารถครอบคลุมถึงระดับท้องถิ่นต่างๆ และระดับรากหญ้าในทุกภาคส่วนของเศรษฐกิจสหรัฐ

ที่สำคัญ เจอโรม พาวเวล ประธานเฟด น่าจะกล่าวประโยคเด็ดๆ ที่จะอยู่ในความทรงจำของตลาดและปลุกขวัญกำลังใจว่า เฟดพร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อให้เศรษฐกิจสหรัฐสามารถที่จะผ่านวิกฤติโควิดในครั้งนี้ไปให้ได้

หันมาดูในส่วนของอีซีบีกันบ้าง คริสติน ลาร์การ์ด ประธานอีซีบี หลังจากประกาศโครงการซื้อสินทรัพย์มูลค่า 7.5 แสนล้านยูโร หรือ Pandemic Emergency Purchase Programme (PEPP) หรือที่เรียกติดปากกันว่า QE ซึ่งเดิมทีโครงการนี้สามารถซื้อได้เพียงพันธบัตรและหุ้นกู้ในส่วนของที่มีอันดับเครดิตที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) เท่านั้น

หลายฝ่ายคาดกันว่าน่าจะถึงเวลาเริ่มซื้อหุ้นกู้ในส่วนของอันดับเครดิตที่ไม่สามารถลงทุนได้ หรือ Junk Bond ในโครงการ PEPP นี้ โดยน่าจะชิมลางในส่วนของหุ้นกู้ที่กำลังจะตกชั้นจาก Investment Grade มาเป็น Junk Bond หรือที่เรียกกันว่า Fallen Angel ก่อน นอกจากนี้อาจตัดสินใจให้กองทุนดังกล่าวสามารถซื้อตราสาร ETF ในส่วนของ High-Yield Debt และ ​Junk Bond 

รวมถึงอาจเป็นไปได้ว่าจะซื้อตราสาร ETF หุ้นสามัญหรือตราสารหนี้ของบริษัทขนาดกลางและเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซกเตอร์ที่ถูกกระทบโดยโควิด-19 โดยตรง

นอกจากนี้ ลาร์การ์ด น่าจะย้ำถึงความพร้อมในการสนับสนุนด้านสภาพคล่องของระบบการเงิน หลังจากที่ได้ออกมาตรการเสริมด้านสภาพคล่องกว่า 3 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อเดือนที่แล้ว

ต้องยอมรับว่าการที่จนถึง ณ วันนี้ที่อียูล้มเหลวในการจัดตั้งกองทุนมูลค่า 1 ล้านล้านยูโร หรือ CoronaBond นั้น ได้ส่งผลให้อีซีบีกลายเป็นความหวังเดียวของเศรษฐกิจยุโรป ณ วันนี้ในการต่อสู้กับโควิด-19 ในรอบนี้

จึงอาจมองไปได้ในอีกระดับหนึ่ง ที่อีซีบีอาจมองไปถึงการปล่อยสินเชื่อแบบมีหลักประกันให้กับบริษัทเอกชนขนาดกลางและเล็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซกเตอร์ของเศรษฐกิจที่ถูกกระทบจากโควิด-19 โดยตรง ตามอย่างเฟดที่ปล่อยกู้ให้กับ Main Street มูลค่า 6 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งงานนี้จำเป็นต้องมีการปรับความเข้าใจกันยกใหญ่ทั้งในมิติของเศรษฐกิจ การเมืองและกฎหมายระหว่างสมาชิกของประเทศต่างๆ ในอียู ก่อนที่จะสามารถทำจริงได้

ที่สำคัญนางลาการ์ดต้องย้ำถึงความจริงจังของอีซีบีในการทุ่มเททรัพยากรของนโยบายการเงินทั้งหมด ในการสู้กับวิกฤติในครั้งนี้ ไม่แพ้ที่ มาริโอ ดรากิ อดีตประธานอีซีบีเคยกล่าวประโยคเด็ดในปี 2012 ไว้อย่างน่าประทับใจ

โดยสรุป ผมมองว่าการประชุมของธนาคารกลางหลักในรอบนี้ น่าจะเป็นการพักยก ก่อนที่จะมีการกระตุ้นรอบใหม่ในช่วงกลางปีนี้

Let's block ads! (Why?)



"หลัก" - Google News
April 30, 2020 at 04:00AM
https://ift.tt/2WcvvKi

ท่าที 3 ธนาคารกลางหลัก หลังโควิด-19 - กรุงเทพธุรกิจ
"หลัก" - Google News
https://ift.tt/3cQVaPs
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update

Bagikan Berita Ini

0 Response to "ท่าที 3 ธนาคารกลางหลัก หลังโควิด-19 - กรุงเทพธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.