Search

บทบรรณาธิการ : ปฏิรูปการเมืองแบบไหน? - ไทยรัฐ

koi.prelol.com

ข่าวการช่วงชิงตำแหน่งในพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ทั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรค เลขาธิการพรรค และรัฐมนตรีหลายตำแหน่ง ในขณะที่ประเทศกำลังเผชิญวิกฤตการณ์ร้ายแรง แต่จะเปลี่ยนม้ากลางศึก สะท้อนให้เห็นว่าคำสัญญาจะปฏิรูปประเทศ รวมทั้งด้านการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดินประสบความล้มเหลว

หรือมิฉะนั้นก็ไม่ได้ลงมือปฏิรูป ใดๆ ตามคำสัญญาที่ให้ไว้ตั้งแต่ยุค กปปส. ที่ประกาศว่าปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง จนถึงยุคของ คสช. เมื่อปี 2557 ที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว บัญญัติว่าต้องปฏิรูปประเทศใน 11 ด้าน และตั้งสภาเกี่ยวกับการปฏิรูปขึ้นมาถึง 2 สภา คือ สภาปฏิรูปแห่งชาติ และสภาขับเคลื่อนฯ

ความล้มเหลวครั้งใหญ่ในการปฏิรูปการเมือง ได้แก่ รัฐธรรมนูญ 2560 ที่ให้หัวหน้าคณะรัฐประหาร คสช. มีอำนาจแต่งตั้ง 250 ส.ว. ซึ่งมีอำนาจเลือกหัวหน้า คสช.เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อสืบทอดอำนาจคณะรัฐประหาร รัฐธรรมนูญลักษณะนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ลอกเลียนจากรัฐธรรมนูญหลายฉบับที่สืบทอดอำนาจรัฐประหาร

แม้แต่รัฐธรรมนูญ 2475 ที่ประกาศใช้หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็มีบทเฉพาะกาลให้มี ส.ส. 2 ประเภท มาจากเลือกตั้ง และแต่งตั้งจำนวนเท่ากัน อ้างว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งในขณะนั้น (88 ปี) กว่าครึ่งหนึ่งไม่จบประถมศึกษา (ป.4) ยังไม่มีความฉลาดทางการเมือง จึงให้เลือก ส.ส. ครึ่งเดียว อีกครึ่งหนึ่งคณะราษฎรแต่งตั้ง

แต่คณะราษฎรขอเวลาแค่ 10 ปี บทเฉพาะกาลก็จะถูกยกเลิกให้ประชาชนเลือกตั้ง ส.ส.ทั้งสภา แต่ครั้นจวนจะครบ 10 ปี กลับขยายออกไปเรื่อยๆถึงปี 2500 ก็ยังมี ส.ส.แต่งตั้งเพื่อคํ้าบัลลังก์รัฐบาล จนถึงรัฐธรรมนูญ 2521 และ 2560 แต่เปลี่ยนจาก ส.ส. แต่งตั้งเป็น ส.ว. แต่งตั้ง แต่ฉบับ 2560 ก็มีบทบังคับปฏิรูปการเมือง

รัฐธรรมนูญมีภาคบังคับให้เริ่มปฏิรูปการเมืองและด้านอื่นๆภายใน 1 ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (คือวันที่ 6 เมษายน 2560) ผ่านมาแล้ว 3 ปี แต่สภาก็ยังเต็มไปด้วยงูเห่า มีลิงที่ชอบกล้วย เป็นภักษาหาร ฝ่ายค้านพยายามผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อปฏิรูปการเมือง แต่ฝ่ายรัฐบาลอ้างต้องปากท้องก่อน แต่แก้ไม่ได้ทั้งปากท้องและรัฐธรรมนูญ

ภาคบังคับการแก้ไขรัฐธรรมนูญตอนหนึ่งระบุว่า การดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมืองต้องเปิดเผย ตรวจสอบได้ ต้องพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันการเมืองของประชาชน ให้สมาชิกมีส่วนร่วมและรับผิดชอบอย่างแท้จริง ตรงกับ คำกล่าวของนายกรัฐมนตรีที่ว่า “ผมตัดสินใจเอง ไม่ต้องต่อรอง ผมเป็นนายกฯ ผมทำคนเดียว” หรือไม่?

อ่านเพิ่มเติม...

Let's block ads! (Why?)



"ภาคบังคับ" - Google News
May 02, 2020 at 05:02AM
https://ift.tt/2yWwkit

บทบรรณาธิการ : ปฏิรูปการเมืองแบบไหน? - ไทยรัฐ
"ภาคบังคับ" - Google News
https://ift.tt/2YaK1os
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update

Bagikan Berita Ini

0 Response to "บทบรรณาธิการ : ปฏิรูปการเมืองแบบไหน? - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.