Search

อย่าบิดเบือนหลักสวัสดิภาพสัตว์ด้วยไก่โตช้า | ทัศนะจากผู้อ่าน - กรุงเทพธุรกิจ

koi.prelol.com

14 กันยายน 2563

2

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เป็น NGOs ที่ออกมาเรียกร้องให้ประเทศไทยเลือกสายพันธุ์ไก่โตช้ามาเลี้ยง โดยหยิบยกหลักสวัสดิภาพสัตว์ขึ้นมากล่าวอ้าง

ผมรู้สึกว่ามีหลายประเด็นที่จงใจบิดเบือนให้สังคมเข้าใจผิด ที่สำคัญ องค์กรนี้ไม่มีการศึกษาถึงกระบวนการเลี้ยงไก่ระดับมาตรฐานโลกที่ประเทศไทยได้ดำเนินการและมีพัฒนาการมา จนกระทั่งกลายเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่ อันดับ 4 ของโลก ได้รับการยอมรับจากสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศทั่วโลก ทำรายได้เข้าประเทศกว่าแสนล้านบาทในแต่ละปี

ลำพังการแสดงความรักสัตว์บนพื้นฐานของจิตใจที่ดีและหวังดีต่อสัตว์ เพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค ผมยอมรับและสนับสนุนมาตรฐาน Animal Welfare อย่างเต็มที่ แต่การใส่ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนบิดเบือนสารพัดนั้น ผมเองในฐานะนายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีกก็ยอมรับไม่ได้เช่นกัน

ประการแรก : ความจริงของหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Principle of Animal Welfare)

 หลักสวัสดิภาพสัตว์ต้องคำนึงถึงความเป็นอิสระของสัตว์เลี้ยง 5 ประการ (Five Freedoms of Animals) ได้แก่ 1.) อิสระจากความหิว กระหาย และการให้อาหารที่ไม่ถูกต้อง 2.) อิสระจากความไม่สะดวกสบายอันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อม 3.) อิสระจากความเจ็บปวด การบาดเจ็บ หรือเป็นโรค โดยมีระบบการป้องกันโรคที่ดี การปฎิบัติต่อตัวไก่เป็นไปอย่างนุ่มนวล การใช้อุปกรณ์อย่างเหมาะสม และมีพื้นที่การเลี้ยงที่สอดคล้องกับธรรมชาติของสัตว์ 4.) มีอิสระจากความกลัวและความทุกข์ทรมาน เช่น ระหว่างการจับไก่ก่อนการเข้าโรงเชือดต้องทำอย่างนุ่มนวล 5.) มีอิสระในการแสดงพฤติกรรมตามปกติของสัตว์ คือมีอิสระการเป็นอยู่อย่างธรรมชาติ และมีความสบายตามชนิดของสัตว์

อุตสาหกรรมไก่เนื้อของประเทศไทย เป็นประเทศแรกนอกเขตยุโรปที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ สอบผ่านทุกข้ออย่างครบถ้วน ทั้งยังพัฒนาเรื่อยมาเป็นลำดับ ปัจจุบันพื้นที่การเลี้ยงไก่เนื้อนั้นมีมากพอให้ไก่อยู่สบายไม่แออัด ดีกว่าที่อยู่ของคนในชุมชนแออัดบางแห่งด้วยซ้ำ อากาศภายในโรงเรือนก็เย็นสบายเพราะมีระบบปรับอากาศ อุณหภูมิต่ำกว่าภายนอก 6-10 องศา ส่งผลให้ไก่อยู่สบายเป็นที่สุด มีแสงสว่างเพียงพอ วัสดุปูรองพื้นก็อุ่นสบาย ไก่จิกคุ้ยเขี่ยได้ตามธรรมชาติ อย่าเอาแต่เรียกร้องให้เลียนแบบต่างประเทศ เช่น การเอาฟางมาให้ไก่จิก เพราะบ้านเราเป็นเมืองร้อนชื้น เชื้อราในฟางข้าวจะก่อโรคให้ไก่ป่วย แทนที่จะทำให้สัตว์มีสวัสดิภาพที่ดี กลับกลายเป็นเอาโรคไปให้สัตว์เสียนี่

ประการที่สอง : หลายข้อกล่าวหาที่บิดเบือน

  • NGOs รายนี้ระบุว่าไก่ในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสายพันธุ์โตเร็ว เกษตรกรต้องคัดไก่ทิ้ง เนื่องจากปัญหาขาพิการถึง 26-38% ทั้งๆที่ในความเป็นจริงไก่เนื้อในฟาร์มมาตรฐานของไทย มีการคัดทิ้งไก่ที่ไม่สมบูรณ์เพียงไม่เกิน 2-3% เท่านั้น และไม่ใช่ปัญหาเรื่องขาพิการด้วยซ้ำ
  • NGOs รายนี้อ้างว่า ไก่โตเร็วมีปัญหาเนื้อกลายเป็นเส้นสีขาว (white stripping) และเนื้อแข็งเหมือนไม้ (wooden breast) ทำให้เนื้อไก่เหล่านี้ถูกลดระดับคุณภาพและมีราคาถูกลง ขณะที่ในความเป็นจริงคือไม่มีใครใช้เรื่อง wooden meat มาตัดเกรดไก่ เพราะปัญหานี้เกิดขึ้นกับไก่ทุกประเภท รวมถึงไก่โตช้าด้วย และจะว่าไปเรื่องไก่เนื้อเหนียวแข็งน่าจะเกิดกับไก่โตช้ามากกว่าเสียอีก ดูไก่บ้าน ไก่ไข่ปลด หรือไก่ชน เป็นตัวอย่างก็ได้ครับ
  • NGOs รายนี้อ้างอีกว่า การใช้สายพันธุ์โตช้ามีความคุ้มทุน (cost efficient) มากกว่าสายพันธุ์ที่โตเร็ว... เอาง่ายๆแค่ระยะเวลาที่เลี้ยงนานขึ้น เกษตรกรยิ่งแบกรับต้นทุนมากขึ้น ทั้งค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรงงาน ต่อให้มีการคัดไก่ตายทิ้งหลักสิบหรือหลักร้อยตัวต่อวันมันก็เทียบไม่ได้กับต้นทุนของไก่ทั้งเล้าในแต่ละวันที่ต้องยืดระยะเวลาการเลี้ยงเพิ่มออกไป ดังนั้น การสรุปว่าคุ้มทุนกว่านั้น จึงยิ่งกว่าบิดเบือน เพราะในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้วมันเป็นไปไม่ได้เลย

“วิทยาศาสตร์” คือความจริงที่พิสูจน์ได้ การพัฒนาสายพันธุ์ไก่ที่แข็งแรง มีความต้านทานโรคสูง เติบโตเร็วขึ้นโดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งหมดก็เพื่อการผลิตอาหารให้เพียงพอสำหรับประชากรโลกหลายพันล้านคนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่พื้นที่เพาะปลูก-เลี้ยงสัตว์กลับมีน้อยลงทุกวัน

หากใช้สายพันธุ์โตช้าจริงๆ จะมีปัญหาตามอีกมหาศาล ทั้งด้านสิ่งแวดล้อมที่จะมีการปล่อยคาร์บอนมากขึ้น ใช้ทรัพยากรน้ำมากขึ้น ฯลฯ ด้านเศรษฐกิจ เกษตรกรรายได้หดหาย เนื้อไก่แพงขึ้น แข่งขันในตลาดโลกได้ยากขึ้น ส่งออกได้น้อยลง กระทบเศรษฐกิจชาติ ฯลฯ และด้านสังคม ที่จะเพิ่มความเหลื่อมล้ำ ทำให้คนจนเข้าถึงอาหารได้ยากยิ่งขึ้น ประเทศไทยจะเกิดภาวะขาดแคลนอาหาร กระทบความมั่นคงทางอาหารของชาติ และบั่นทอนสิทธิมนุษยชนในการเข้าถึงอาหาร

องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก สาขาประเทศไทย ก็น่าจะมีสมาชิกเป็น “คนไทย” ขอให้มองประเทศไทยบนความเป็นจริง รักชาติของเราให้มากพอ และไม่จำเป็นต้องเลียนแบบต่างชาติไปเสียทุกเรื่อง บริบทของแต่ละประเทศนั้นต่างกัน ตั้งบนเส้นรุ้ง-แวงคนละเส้นก็ไม่เหมือนกันแล้ว ทั้งภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และวัฒนธรรม... โปรดทบทวนแนวคิด ยุติการไปยุ่งกับสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร... หันไปใส่ใจปกป้องสัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า หรือสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ดีกว่า เพราะสัตว์ที่เลี้ยงเพื่อเป็นอาหารนั้นมีสัตวแพทย์ควบคุมการผลิต โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสำคัญอยู่แล้วครับ./

โดย...

น.สพ.สุเมธ ทรัพย์ชูกุล

ดูบทความทั้งหมดของ ทัศนะจากผู้อ่าน

Let's block ads! (Why?)



"หลัก" - Google News
September 14, 2020 at 04:22AM
https://ift.tt/2DWCe62

อย่าบิดเบือนหลักสวัสดิภาพสัตว์ด้วยไก่โตช้า | ทัศนะจากผู้อ่าน - กรุงเทพธุรกิจ
"หลัก" - Google News
https://ift.tt/3cQVaPs
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://koi.prelol.com/

Bagikan Berita Ini

0 Response to "อย่าบิดเบือนหลักสวัสดิภาพสัตว์ด้วยไก่โตช้า | ทัศนะจากผู้อ่าน - กรุงเทพธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.