26ส.ค.63-นายชัยยุทธ ปัญญสวัสดิ์สุทธิ์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และหัวหน้าโครงการวิจัยพัฒนาระบบบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ (National Education Accounts: NEA) กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวถึงผลการวิเคราะห์โครงการวิจัยพัฒนาระบบบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ ช่วงระยะเวลา 10 ปี ว่า รายจ่ายด้านการศึกษาของประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2551-2561 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยรายจ่ายด้านการศึกษาของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2551 มีจำนวนเงิน 560,479 ล้านบาท ต่อมาในปี พ.ศ.2561 ประเทศไทยมีรายจ่ายด้านการศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 816,267 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 45 ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยรายจ่ายด้านการศึกษาของภาครัฐเริ่มมีแนวโน้มลดลงจาก 684,497 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2559 เป็น 620,452 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2561 หรือคิดเป็นอัตราการลดลงเฉลี่ยร้อยละ 4.79 ต่อปี โดยสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากอัตราการเกิดของประชากรที่ลดลงทุกปี ทำให้จำนวนนักเรียนทั้งหมดของประเทศไทยมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง จากเมื่อปี พ.ศ. 2553 มีนักเรียนทั้งหมดจำนวน 11,750,727 คน ในปี พ.ศ.2561 เหลือจำนวน 10,763,607 คน หรือลดลงมาเกือบหนึ่งล้านคนในระยะเวลา 8 ปี จากข้อมูลการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการศึกษาภาคบังคับให้แก่เยาวชนในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2561 สพฐ. มีโรงเรียนในสังกัดจำนวน 29,839 แห่ง โดยมีงบประมาณรายจ่ายด้านการศึกษาทั้งหมด 286,743 ล้านบาท
นายชัยยุทธ กล่าวต่อว่า แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลจะมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี ที่จัดสรรผ่านงบบุคลากร งบลงทุน งบดำเนินงาน และมีงบรายหัวที่จัดสรรให้เด็กแต่ละคนเท่ากัน แต่ในทางปฏิบัติแล้วเมื่อติดตามผลการจัดสรรงบประมาณในหมวดต่างๆ เหล่านี้ไปถึงปลายทางในพื้นที่ และถึงตัวผู้เรียนแล้วจะพบว่า นักเรียนแต่ละคนในพื้นที่ต่างๆ จะได้รับงบประมาณรวมเฉลี่ยต่อคนไม่เท่ากัน ซึ่งเกิดจากหลากหลายปัจจัย เช่น จำนวนเด็กนักเรียนในแต่ละพื้นที่ จำนวนครูในโรงเรียนขนาดเล็กหรือโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารที่ยังขาดครูไปสอนไม่ครบชั้นเรียน ทำให้งบบุคลากร งบลงทุนที่ได้รับการจัดสรรลงไปให้แก่นักเรียนในพื้นที่และสถานศึกษาเหล่านี้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าโรงเรียนขนาดกลาง ใหญ่ และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ โดยผลการวิจัย พบว่า ในปีงบประมาณ 2561 ภูมิภาคที่มีรายจ่ายด้านการศึกษา มากที่สุดคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 119,153 ล้านบาท รองลงมาคือภาคกลาง จำนวน 72,231 ล้านบาท ภาคเหนือ จำนวน 54,280 ล้านบาท ในขณะที่ภาคใต้ เป็นภูมิภาคที่มีรายจ่ายด้านการศึกษาน้อยที่สุดจำนวน 41,077 ล้านบาท หรือประมาณหนึ่งในสามของรายจ่ายด้านการศึกษาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสาเหตุอันเนื่องมาจากปัจจัยสภาพแวดล้อมในพื้นที่ และจำนวนครูและบุคลากรในสถานศึกษาข้างต้น
หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวอีกว่า เมื่อพิจารณาผลกระทบจากโควิด-19 ทุกพื้นที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นทางออกด้านหนึ่งในการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาปี 2564 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในมิติการศึกษาได้อย่างยั่งยืน คือ ภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการปฏิรูปกระบวนการจัดสรรงบประมาณเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (Equity-based Budgeting) ซึ่งไม่ใช่การจัดสรรด้วยสูตรเดียวกันทั้งประเทศ แต่ใช้หลักการนำข้อมูลความจำเป็นของผู้เรียน และสถานศึกษา รวมทั้งบริบทเฉพาะในแต่ละพื้นที่ มาคิดคำนวณอยู่ในสูตรการจัดสรรงบประมาณด้วย สิ่งนี้จะช่วยให้ระบบการศึกษาไทยสามารถบรรลุเป้าหมายทั้งด้านประสิทธิภาพ และความเสมอภาคไปพร้อมกันได้ เพราะนอกจากผู้เรียน โรงเรียนจะได้รับการจัดสรรทรัพยากรที่สอดคล้องกับความจำเป็นเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาแล้ว รัฐบาลจะสามารถประหยัดเงินงบประมาณได้จำนวนมากจากรายจ่ายที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการได้ด้วย"หัวหน้าโครงการ NEA
" ในเดือนกันยายนนี้ จะมีการเปิดตัวฐานข้อมูลบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาออนไลน์ ในชื่อฐานข้อมูล iNEA ผ่านโปรแกรม Business Intelligence (BI) เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เห็นถึงภาพรวมและรายละเอียดของข้อมูลรายจ่ายด้านการศึกษาของประเทศไทยย้อนหลัง ซึ่งตนเชื่อว่าฐานข้อมูลนี้จะช่วยให้ผู้ออกแบบนโยบาย เข้าใจโครงสร้างรายจ่ายด้านการศึกษาของประเทศมากขึ้น และสามารถกำหนดผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรของภาครัฐในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเป็นธรรม"นายชัยยุทธกล่าว .
"ภาคบังคับ" - Google News
August 26, 2020 at 04:22PM
https://ift.tt/2EyMh16
วิจัยงบฯการศึกษาชาติ 10ปี พบรายหัวเด็กเท่ากัน แต่ผลลัพธ์ปลายทางไม่เท่ากัน - ไทยโพสต์
"ภาคบังคับ" - Google News
https://ift.tt/2YaK1os
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://koi.prelol.com/
Bagikan Berita Ini
0 Response to "วิจัยงบฯการศึกษาชาติ 10ปี พบรายหัวเด็กเท่ากัน แต่ผลลัพธ์ปลายทางไม่เท่ากัน - ไทยโพสต์"
Post a Comment