Search

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบสกุลหลัก หลังเฟดมีมติคงดอกเบี้ย - ประชาชาติธุรกิจ

koi.prelol.com
แฟ้มภาพ

ฝ่ายค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ รายงานว่า สภาวการณ์เคลื่อนไหวตลาดปริวรรตเงินตราประจำวันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2563 ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าวันนี้ (30/7) ที่ระดับ 31.41/43 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าจากระดับปิดตลาดในวันพุธ (29/7) ที่ระดับ 31.45/47 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าเทียบเงินสกุลหลัก หลังจากเมื่อคืนที่ผ่านมา คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0-0.25%

แถลงการณ์ภายหลังการประชุมได้ระบุว่าเฟดมีความมุ่งมั่นที่จะใช้เครื่องมือทั้งหมดที่มีอย่างเต็มรูปแบบ พื่อสนับสนุนเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงเวลาที่กำลังผชิญกับความท้าทายในขณะนี้ โดยเฟดเชื่อว่าการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนการจ้างงานให้ขยายตัวอย่างเต็มศักยภาพและจะสามารถบรรลุเป้าหมายในการรักษาเสถียรภาพด้านราคา

นอกจากนี้เฟดยังประกาศขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือด้านสภาพคล่องออกไปอีก 3 เดือน จากเดิมที่จะสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน ขยายไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 เพื่อช่วยในการวางแผนของผู้ร่วมตลาด และสร้างความมั่นใจว่ามาตรการต่าง ๆ จะยังคงอยู่เพื่อช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ พร้อมทั้งเฟดจะยังคงถือครองพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) โดยเฟดจะซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ วงเงิน 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ/เดือน และซื้อตราสารหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกันการจำนอง (MBS) ในวงเงิน 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ/เดือน เพื่อสร้างเสถียรภาพต่อตลาดการเงิน

ทั้งนี้ นายเจอโรม พาวเวล ได้กล่าวว่ายังไม่มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกบี้ยจนกว่าจะมีสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อได้ปรับเข้าสู่เป้าหมายหรือการจ้างงานเพิ่มขึ้นเข้าใกล้ระดับสูงสุดและได้เน้นย้ำถึงข้อจำกัดของนโยบายและมาตรการทางการเงินของเฟดต่อเศรษฐกิจ ซึ่งทำได้เพียงรักษาสภาพคล่องในระบบการเงิน ขณะที่มาตรการทางการคลังและสาธารณสุขนั้น เป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจมากกว่า

และสำหรับตัวเลขศรษฐกิจที่ได้เปิดเผยเมื่อคืนที่ผ่านมา ดัชนีการทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (pending home sales) ประจำเดือนมิถุนายน ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 16.6% เมื่อเทียบรายเดือน และสูงกว่าที่คาดการณ์ที่ระดับ 12.5% หลังจากพุ่งขึ้น 44% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ NAR เริ่มทำการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคม ปี 2544 แต่อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงติดตามตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหรัฐ ประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2563 ที่จะเปิดเผยในคืนนี้

โดยนักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวจะอยู่ที่ระดับ -34% นับเป็นระดับติดลบมากสุดในรอบ 70 ปี และเป็นการติดลบ 2 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งคาดว่าจะยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะกดดันให้ดอลลาร์สหรัฐ ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในทิศทางที่อ่อนค่าในช่วงนี้ ระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 31.35-31.46 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 31.43/45 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินยูโร เปิดตลาดเช้าวันนี้ (30/7) ที่ระดับ 1.1170/74 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ปรับตัวแข็งค่าจากรดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (29/7) ที่ระดับ 1.1748/50 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร ค่าเงินยูโรได้ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงที่ผ่านมา แม้วันนี้ได้มีการเปิดเผยตัวเลข ผลิตภัณฑ์มวลรวมภยในประเทศ (GDP) ของเยอรมนีประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 อยู่ที่ระดับ -11.7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งติดลบมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ -10.9% และเมื่อเทียบกับรายไตรมาสจะอยู่ระดับ -10.1% ติดลบมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ -9.0% ทั้งนี้ระหว่างวัน ค่าเงินยูโรเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบระหว่าง 1.1730-1.1786 ดอลลาร์สหรัฐ/ยูโร และปิดตลาดที่ระดับ 1.1733/37

สำหรับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเยน ค่าเงินเยนเปิดตลาดเช้าวันนี้ (30/7) ที่ระดับ 105.06/09 ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวอ่อนค่าจากระดับปิดตลาดเมื่อวันพุธ (29/7) ที่ระดับ 104.90/93 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ โดยเมื่อเช้าที่ผ่านมาได้มีการเปิดเผยดัชนียอดค้าปลีก ปะจำเดือนมิถุนายน ออกมาอยู่ที่ระดับ -1.2% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ระดับ-6.0 แต่ทั้งนี้ค่าเงินเยนยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแข็งค่า เนื่องจากนักลงทุนยังได้เข้าถือสินทรัพย์ปลอดภัยจากการขัดแย้งระหว่างสหรัฐและจีน และจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศ โดยระหว่างวันค่าเงินเยนเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 104.99-105.29 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ และปิดตลาดที่ระดับ 105.12/14 เยน/ดอลลาร์สหรัฐ

ดัชนีสำคัญทางเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ (30/7), ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2563 (ประมาณการเบื้องต้น) ของสหรัฐ (30/7), ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนมิถุนายน และความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน (31/7)

สำหรับอัตราป้องกันความเสี่ยง (Swap point) ภาคเช้า 1 เดือนในประเทศอยู่ที่ +0.4/+0.55 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราป้องกันความเสี่ยง ภาคเช้า 1 เดือนต่างประเทศอยู่ที่ +2.0/+3.5 สตางค์/ดอลลาร์สหรัฐ

Let's block ads! (Why?)



"หลัก" - Google News
July 30, 2020 at 07:25PM
https://ift.tt/2P8wZlF

ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบสกุลหลัก หลังเฟดมีมติคงดอกเบี้ย - ประชาชาติธุรกิจ
"หลัก" - Google News
https://ift.tt/3cQVaPs
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://koi.prelol.com/

Bagikan Berita Ini

0 Response to "ดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าเมื่อเทียบสกุลหลัก หลังเฟดมีมติคงดอกเบี้ย - ประชาชาติธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.