15 กรกฎาคม 2563
119
ผลคะแนนPISA เด็กไทยดีขึ้น ต้องเปลี่ยนหลักสูตรเน้นสมรรถนะ กระบวนการเรียนการสอน และการประเมินผล
ตั้งแต่ปี 2000 หรือ 2543 ประเทศไทยได้เข้าร่วมผลการสอบโปรแกรมการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล( Programme for International Student Assessment) หรือPISA ซึ่งเป็นการสอบวัดความรู้นักเรียนนานาชาติ วัดระดับการเรียนรู้ของนักเรียนอายุ 15 ปีทั่วโลก ใน 3 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการอ่าน จัดสอบทุก 3 ปี และดำเนินการต่อเนื่องมา 20 ปีแล้ว โดยผลคะแนนดังกล่าวเป็นการทดสอบที่มีมาตรฐานสูง
PISA ในประเทศไทย ริเริ่มโดยองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic and Devlopment หรือ OECD) และมีสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ทำหน้าที่เป็นศูนย์แห่งชาติในการดำเนินการจัดสอบ ซึ่งประเทศไทยไม่ใช่สมาชิก OECD แต่สมัครเข้าร่วม PISA ในฐานะประเทศร่วม (Partner countries) เพื่อต้องการตรวจสอบคุณภาพของระบบการศึกษา และสมรรถนะของนักเรียนวัยจบการศึกษาภาคบังคับของชาติเกี่ยวกับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต
โดยใช้มาตรฐานของประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นเกณฑ์ชี้วัด ผลสัมฤทธิ์จากการทำแบบทดสอบและข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนรวมทั้งข้อมูลนโยบาย การบริหารจัดการ และการจัดการเรียนการสอนจากผู้บริหารของโรงเรียนทำให้ได้ข้อมูลคุณภาพการศึกษาของประเทศ
ทั้งนี้ ผลประเมิน PISA หลายสิบปีที่ผ่านมา พบว่าไทยยังคงได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในการสอบวัดความรู้ทั้ง 3 ด้าน คือ การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะในเรื่องของการอ่านที่นักเรียนที่คะแนน "ต่ำลง" ทำให้นักวิชาการหลายๆ ท่านออกมาเสนอแนะให้กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) และสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) หน่วยงานต้นสังกัดต้องเร่งพัฒนาความสามารถของเด็กในทุกด่าน โดยเฉพาะการอ่าน เพราะถือเป็นสาระสำคัญและเป็นปัญหาของเด็กไทยตั้งแต่ประถมศึกษาไปจนถึงระดับอุดมศึกษา
“อรรถพล อนันตวรสกุล”อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าผลประเมินPISA สะท้อนถึงกระบวนการเรียนการสอนของแต่ละประเทศ ซึ่งผลประเมินPISA ของไทยที่อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมาโดยตลอดน เพราะกระบวนการเรียนการสอนของไทยไม่ได้เป็นการฝึกให้เด็กอ่านสังเคราะห์ คิดวิเคราะห์ได้ แต่เป็นการฝึกให้เด็กท่องจำ และสอนตามเนื้อหาบทเรียนเป็นหลัก ไม่ได้สอนให้เด็กเข้าใจหลักการของเรื่องนั้นๆแล้วสามารถบูรณาการปรับใช้ให้เหมาะสมได้
อีกทั้งกลุ่มโรงเรียนของไทย ต้องยอมรับว่ามีช่องว่างระหว่างกลุ่มอย่างมาก อาทิ เด็กที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนสาธิตฯ คะแนนPISA จะผ่านเกณฑ์ค่าเฉลี่ยทั้งหมด แต่เด็กในกลุ่มโรงเรียนสพฐ.ที่มีหลากหลายประเภท ผลคะแนนกลับต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ย และเมื่อดูภาพรวมของประเทศก็กลายเป็นคะแนนPISA ต่ำมาก
ตอนนี้การสอบPISA เป็นการใช้โปรแกรมผ่านคอมพิวเตอร์ ทำให้เด็กกลุ่มนี้ที่โรงเรียนไม่มีความพร้อมในเรื่องนี้ นอกจากกระบวนการสอนที่ทำให้พวกเขาไม่สามารถทำโจทย์ ข้อสอบของPISA ได้แล้ว ยังไม่ถนัดการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ไอทีต่างๆ
“หากจะทำให้ผลคะแนนPISA ของเด็กไทยดีขึ้น ต้องเปลี่ยน 3 โจทย์ใหญ่ ตั้งแต่หลักสูตร เน้นสมรรถนะ ไม่ใช่ความรู้ ครูต้องปรับกระบวนการเรียนการสอน สร้างสถานการณ์ จำลองเหตุการณ์ให้เด็กได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แก้ปัญหาได้ ไม่ใช่สอนตามโจทย์คณิตศาสตร์และให้สูตรเด็กไปท่องจำเพื่อทำ เพราะข้อสอบPISA ไม่ได้เป็นแบบนั้น
อีกทั้งหน่วยงานที่จัดสอบอย่าง สสวท. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าใจว่าขณะนี้ทุกคนอยากให้ผลคะแนนPISA ดีขึ้น แต่วิธีการที่จะทำให้เด็กมีผลคะแนนPISA เพิ่มขึ้นนั้น เป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้อง อย่าง การนำข้อสอบPISA มาให้เด็กได้ทดลองทำ เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับข้อสอบ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาแบบศรีธนชัย ทั้งที่การแก้ปัญหาจริงๆ ต้องเริ่มตั้งแต่หลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน และการประเมิน เพื่อทำให้เด็กไทยอ่านจับใจความได้ คิดวิเคราะห์ได้ แก้ปัญหาเป็น”อรรคพล กล่าว
ขณะที่ “สสวท.” ได้ตั้งข้อสังเกตจากผลประเมินPISA สรุปไว้ว่าระบบการศึกษาไทยมีส่วนหนึ่งที่มีคุณภาพและสามารถพัฒนานักเรียนให้มีความสามารถในระดับสูงได้ หากระดับนโยบายสามารถสร้างความเท่าเทียมกันทางการศึกษาได้สำเร็จ โดยขยายระบบการศึกษาที่มีคุณภาพไปให้ทั่วถึง ประเทศไทยก็จะสามารถยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนให้ทัดเทียมกับนานาชาติได้
โดยนักเรียนไทยทั้งกลุ่มที่มีคะแนนสูงและกลุ่มที่มีคะแนนต่ำมีจุดอ่อนอยู่ที่ด้านการอ่าน ซึ่งใน PISA 2018 เป็นการประเมินการอ่านเนื้อหาสาระที่มาจากทั้งแหล่งข้อมูลเดียวและหลายแหล่งข้อมูล อีกทั้งสื่อที่นักเรียนได้อ่านส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลซึ่งสะท้อนถึงธรรมชาติของการอ่านที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของโลกและสอดคล้องกับการใช้ข้อมูลในชีวิตจริงของผู้คนทั่วโลก ดังนั้น ระบบการศึกษาไทยจึงควรส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปในการเรียนการสอนเพื่อสร้างความคุ้นเคยและยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนในยุคดิจิทัลต่อไป
ส่วนด้านความฉลาดรู้ด้านการอ่านมีความสัมพันธ์กับความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แต่แนวโน้มคะแนนการอ่านของไทยยังลดลงอย่างต่อเนื่อง ระบบการศึกษาไทยจึงต้องยกระดับความสามารถด้านการอ่านของนักเรียนอย่างเร่งด่วน นอกจากนั้น PISA ยังสะท้อนให้เห็นอีกว่าสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม มีผลต่อความรู้ความสามารถของนักเรียนอย่างมาก โดยสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมด้อยเปรียบแต่ก็สามารถทำคะแนนได้ดี ซึ่งเรียกนักเรียนกลุ่มนี้ว่า มีความไม่ย่อท้อทางการศึกษา (academic resilience)
โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความไม่ย่อท้อทางการศึกษา คือ การสนับสนุนจากพ่อแม่ บรรยากาศเชิงบวกในโรงเรียน และกรอบความคิดแบบเติบโต (growth mindset)อย่าง ผลการประเมิน PISA 2018 ชี้ว่า นักเรียนไทยมีกรอบความคิดแบบเติบโตเพียง 43% ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของประเทศสมาชิก OECD อยู่ที่ 63% แสดงให้เห็นว่า นักเรียนไทยจำนวนมากยังมีความเชื่อว่าสติปัญญาเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต หากมีการส่งเสริมเรื่องการสร้างกรอบความคิดแบบเติบโตให้กับนักเรียนก็จะช่วยพัฒนาความฉลาดรู้ของนักเรียนไทยได้มากขึ้น
ตบท้ายด้วย “สมพงษ์ จิตระดับ” อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่าผลประเมิน PISA ประกาศออกมาทุกครั้ง ทำให้เห็นได้ว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ต้องประเมินนโยบายการศึกษาที่ทำอยู่ว่าทำให้เกิดคุณภาพดีขึ้นจริงหรือไม่ เพราะต่อให้ปีล่าสุด ผลคะแนนPISA คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ไม่ได้ต่ำลงแต่ก็ไม่ได้ดีขึ้น
ดังนั้น ควรจะเข้าใจสถานการณ์การศึกษาไทย มีนโยบายในการส่งเสริมการอ่านอย่างชัดเจน และต้องเร่งแก้ปัญหาการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ของเด็กที่ต่ำอยู่ให้มีการพัฒนาที่ดีขึ้น เพราะถ้าไม่ทำเรื่องเหล่านี้จะไม่เกิดการพัฒนาคน
"ภาคบังคับ" - Google News
July 14, 2020 at 08:11PM
https://ift.tt/2ZtQFGy
“ผลสะท้อน PISA” 20 ปี ย่ำอยู่กับที่ - กรุงเทพธุรกิจ
"ภาคบังคับ" - Google News
https://ift.tt/2YaK1os
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://koi.prelol.com/
Bagikan Berita Ini
0 Response to "“ผลสะท้อน PISA” 20 ปี ย่ำอยู่กับที่ - กรุงเทพธุรกิจ"
Post a Comment