Search

เปิด TPAK ประกาศแผนรุก “เพิ่มกิจกรรมทางกายคนไทย” อีกโจทย์ท้าทายที่ต้องไปให้ถึง - กรุงเทพธุรกิจ

koi.prelol.com
เปิด TPAK ประกาศแผนรุก “เพิ่มกิจกรรมทางกายคนไทย” อีกโจทย์ท้าทายที่ต้องไปให้ถึง

3 กรกฎาคม 2563

2

หลังประกาศเป้าพร้อมร่วมขับเคลื่อนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสู่ระดับโลก ล่าสุด สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย จึงจับมือกันเปิดศูนย์พัฒนาองค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายประเทศไทย (Thailand Physical Activity Knowledge Development Centre : TPAK)

สำหรับ TPAK มีเป้าหมายการดำเนินงาน 3 ระยะ คือ ระยะ 1 พัฒนาองค์ความรู้เพื่อให้เกิดความพร้อมในการสนับสนุนการทำงานของภาคีเครือข่าย ระยะ 2 ขับเคลื่อนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 TPAK มีการปรับแนวทางการทำงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของสังคม ภาคีที่เกี่ยวข้องได้ใช้ประโยชน์ และระยะ 3 องค์ความรู้ด้านกิจกรรมทางกายที่ถูกพัฒนาขึ้นจะได้รับการยอมรับและนำไปใช้ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม รวมถึงผลผลิตทางวิชาการได้รับการนำไปอ้างอิงทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ให้สอดคล้องและสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายตามเป้าหมายทั้งในระดับชาติและระดับโลก

ซึ่งที่ผ่านมาทาง TPAK ได้ดำเนินการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย สนับสนุนการส่งเสริมนโยบายระดับชาติเป็นแผนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (พ.ศ. 2561-2573) โดยดำเนินโครงการโรงเรียนฉลาดเล่น ด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนาเกิดเปนโมเดลเล่น เรียน รู้ให้แก่เด็กนักเรียน และได้เป็นต้นแบบโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในเด็กขององค์การอนามัยโลก และกรณีศึกษาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ตลอดจนพัฒนาเป็นชุดคู่มือส่งเสริมการเรียนรู้ 3 มิติเล่น-เรียน-รู้สำหรับโรงเรียน พร้อมดำเนินโครงการ “Thailand Report Card Global Matrix 3.0สำรวจการมีกิจกรรมทางกายของเด็กและเยาวชนไทย ร่วมกับ 50 ประเทศทั่วโลก นำไปสู่การใช้เป็นฐานข้อมูลในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายอย่างเพียงพอและเหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชนไทย

ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสร้างเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สสส กล่าวว่า การมีข้อมูลจาก TPAK เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านส่งเสริมสุขภาพ พร้อมยกตัวอย่างเช่นการที่พบว่าในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลให้สถานการณ์การมีกิจกรรมทางกายของคนไทยลดลงจาก 74.6 % มาอยู่ที่ 55 %

“เรื่องนี้คือโจทย์ใหญ่ที่เราต้องกลับมารื้อฟื้นกันใหม่” ดร.นพ.ไพโรจน์เอ่ยต่อว่า ในระยะยาว สสส. ขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยใช้ยุทธศาสตร์ไตรพลัง ได้แก่ 1.การรณรงค์สื่อสารเพื่อสร้างความตระหนักผ่านสื่อสาธารณะและการสื่อสารหลายลักษณะ 2.การร่วมขับเคลื่อนให้เกิดนโยบายซึ่งจะเป็นพลังที่ส่งผลกระทบสู่สังคมวงกว้าง และ 3.พลังความรู้ถือเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนและผลักดันนโยบายที่ต้องใช้ข้อมูลทางวิชาการที่เชื่อถือได้ ซึ่ง TPAK เป็นกลไกสนับสนุนข้อมูลการศึกษาวิจัยองค์ความรู้เรื่องกิจกรรมทางกายในมิติทางประชากร และสังคม เพื่อให้ภาคีเครือข่ายและประชาชนที่สนใจนำข้อมูลไปใช้ในประกอบแผนและแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประชากรไทย พร้อมเชื่อมประสานและสนับสนุนการทำงานของภาคีเครือข่ายทั้งเชิงนโยบาย องค์ความรู้ทางวิชาการ และสังคม ตลอดจนพัฒนาฐานข้อมูล เครื่องมือรวบรวมข้อมูลทางสังคม การวิเคราะห์แนวโน้ม การติดตามและประเมินผล เพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่มีมาตรฐานทางวิชาการระดับสากล เป็นพลังสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนให้ประเทศไทยและคนไทยมีสุขภาวะ

“เรามองว่าเรายังมีต้นทุนที่ดี และยังเชื่อว่าหลังโควิด คนไทยจะกลับมามีกิจกรรมทางกายกระเตื้องขึ้น แต่จะเท่าเดิมหรือไม่ ถือเป็นความท้าทาย เพราะที่ผ่านมาเรารณรงค์แทบตายยังขึ้นมาปีละแค่ 1-2% ซึ่งเรื่องนี้ยอมรับว่าต้องออกแรงพอสมควร”

ด้าน ศ.ดร.ปิยวัฒน์ เกตุวงศา หัวหน้า TPAK สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ข้อมูลชุดนี้เป็นการเก็บมาต่อเนื่อง 8 ปี จากกลุ่มประชากรทั่วประเทศ ในช่วงสถานการณ์โควิด แม้เดินทางไม่ได้ แต่ทางศูนย์ฯ ยังใช้เครื่องมือเทคโนโลยีมาช่วยในการเก็บสถิติต่อเนื่อง

“ซึ่งทีแรกเราไม่คิดว่าตัวเลขจะดิ่งลงอย่างน่าตกใจ เพราะตามแผนที่อธิบดีกรมอนามัยประกาศ ว่าภายในปี พ.ศ.2573 ประเทศไทยตั้งเป้าอยากให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายไม่ต่ำกว่า 75% ซึ่งถ้าดูตัวเลขเดิมมันเกือบใกล้ความจริงแล้ว แต่พอโควิดมา เหมือนมันยกเอาเส้นชัยเราหนีไป”

แต่ ศ.ดร.ปิยวัฒน์​ชี้แจงว่า นี่ยังเป็นแค่ระเบิดลูกแรกที่เป็นผลกระทบจากโควิดเท่านั้น

“ตัวเลขดังกล่าวเราทำการสำรวจในช่วงที่เคอร์ฟิว คือก่อนเดือนมิถุนายน ซึ่งเราคิดว่าจะเป็นตัวเลขที่ลงมาต่ำสุดแล้ว แต่ปรากฏว่า พอหลังเดือนมิถุนายน เรายังทำการสำรวจเป้าหมายอีกประมาณพันกว่าราย กลับพบว่า สถิติยังลดลงไปอีกนิด พอเราไปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ถึงได้เห็นว่าเป็นผลกระทบจากการที่ถูกเลิกจ้างงาน นั่นแปลว่า จะเริ่มเป็นประเด็นเกี่ยวกับด้านสุขภาพจิตแล้ว ที่ทำให้เขาไม่พร้อมจะออกไปมีกิจกรรมทางกาย”

สำหรับการหาแนวทางเพื่อผลักดันให้ตัวเลขสถิติการมีกิจกรรมทางกายของคนไทยฟื้นตัวกลับไปเท่าเดิมนั้น ศ.ดร.ปิยวัฒน์ ได้แสดง 3 โมเดล ที่เป็นการวิจัยและจำลองภาพเพื่อคาดการณ์แนวโน้ม

โดยโมเดลแรก เป็นการใช้แนวทางที่เคยดำเนินการในอดีต ซึ่งพบว่าแม้ตัวเลขจะกระเตื้องขึ้น แต่ก็เป็นการไต่ระดับช้า ๆ  ทำให้คาดว่าในปี 2573 สถิติจะขึ้นไปอยู่ที่ 70% ซึ่งยังไม่ถึงเป้าหมาย

ส่วนอีกโมเดล เป็นการวิเคราะห์กลยุทธ์ที่ทาง สสส. พยายามรณรงค์การให้ความรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการรณรงค์ด้านกิจกรรมทางกาย ที่ส่งเสริมให้ออกกำลังกายที่บ้านหรือภายในบริเวณบ้าน ภายใต้แนวคิด fit from home พบว่าคนกลุ่มมีโอกาสมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 1.4 เท่า ซึ่งหลังเอามาวิเคราะห์โมเดล คาดการว่าจะได้สถิติกิจกรรมทางกายคนไทยอยู่ที่ 76.9% ในปี พ.ศ. 2573

ส่วนโมเดลที่ 3 ซึ่งเป็นโมเดลที่ใช้การร่วมมือกับหลายๆ ภาคี เพิ่มทางเลือกในการมีกิจกรรมทางกาย ส่งเสริมการใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อกิจกรรมทางกายมากขึ้น พบว่าในปีช่วง 1-2 ปีแรก สถิติจะยังไม่เพิ่มขึ้นสูง แต่จะไปเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ในช่วงปลายปีที่ 2 ถึง 3 และคาดว่าในปี 2573 คนไทยจะมีกิจกรรมทางกายไม่น้อยกว่า 80%

“แต่ใน NCDs Global Target แผนแรกคือการตั้งเป้าภายในปี 2568 คนไทยต้องมีกิจกรรมทางกายอยู่ที่ประมาณ 76.3% ซึ่งเวลานั้นทั้งสามโมเดลนี้ กลับไม่มีโมเดลไหนที่แตะสถิตินี้  ไม่นับรวมแผนอีกตัวคือ GAPPA ที่มีเป้าหมายลดอัตราการขาดกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอ”

ซึ่งนอกจากการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามพฤติกรรมด้านกิจกรรมทางกายของประชากรไทย แล้ว ทาง TPAK ยังมีข้อเสนอแนะ 5 มาตรการ หรือ 5 ปมในการมีกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของประชากรไทย โดย TPAK คือ 1.การรณรงค์เพื่อสื่อสารและสร้างการรับรู้เกี่ยวกับความหมายและประโยชน์ของกิจกรรมทางกายในหลากหลายมิติ 2.การเผยแพร่แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องและสร้างแรงจูงใจในการมีกิจกรรมทางกายจากที่บ้าน 3.การสนับสนุนให้ชุมชนเป็นฐานในการริเริ่มการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการใช้ประโยชน์สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะอย่างปลอดภัย 4.การส่งเสริมให้เกิดความร่วมรับผิดชอบอย่างจริงจังในการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายเพื่อสร้างเสริมทักษะและพัฒนาการตามช่วงวัยในเด็กและเยาวชน และ 5.การส่งเสริมให้เกิดการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยและปลอดเชื้อในการจัดกิจกรรมสุขภาพและกีฬามวลชน

“โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเป็นอีกกลุ่มที่ต้องได้รับการส่งเสริมอย่างจริงจังในเรื่องนี้ เพราะปัจจุบันเด็กไทยมีอัตราการมีกิจกรรมทางกายต่ำมาก สิ่งที่เราต้องทำคือสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อ มีส่วนกระตุ้นให้เด็กหันมามีกิจกรรมทางกาย เพราะเขาอยากเล่นอยู่แล้ว ซึ่งยังจำเป็นต้องสร้างความตระหนักให้พ่อแม่ โรงเรียน และท้องถิ่นให้ความร่วมมือในการสร้างพื้นที่สาธารณะที่ปลอดภัยของเด็ก” ​” ผศ.ดร.ปิยวัฒน์ กล่าว

เสริมด้วย อรณา จันทรศิริ นักวิจัยสานักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP) กระทรวงสาธารณสุข ที่เอ่ยว่า ปัจจัยสำคัญ ส่วนหนึ่งที่จะไปถึงเป้าหมาย คือต้องทำให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจทุกภาคส่วน คือการทำความเข้าใจเรื่องของสถานการณ์ประชาชนก็มีความสำคั​ญ แต่ความเข้าใจสถานการณ์ทางนโยบายก็ไม่แพ้กัน

“ในเรื่องนโยบายมองว่าทุกคนไม่เฉพาะภาคนโยบาย แต่ไม่ว่าจะเป็นประชาชนหรือใครก็มีส่วนในการออกแบบหรือกำหนดนโยบายนี้ร่วมกัน ขอยกตัวอย่างสวนเบญจกิติ เราเคยมีการสำรวจพบว่า คนมาใช้เด็กและสูงอายุมาใช้บริการน้อย เนื่องจากพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุระหว่างคนที่มาออกกำลังกาย คนเดิน และคนใช้จักรยานหลายจุด เรานำข้อเสนอนี้ไปคุยกับ กรุงเทพมหานคร และ สสส. สุดท้ายจนเกิดเป็นการปรับปรุงสวนนี้ขึ้นมา ที่ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมทำสนามเด็กเล่นเพิ่มขึ้น ซึ่งต่อมาได้ข้อสรุปว่ามีผู้สูงอายุและเด็กใช้เพิ่ม และลดอุบัติเหตุได้จริง”

ปัจจุบันอรณายังได้ ร่วมพัฒนาและก่อตั้ง Activethai.org เป็นเว็บไซต์รวมข้อมูลเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลกิจกรรมทางกาย ในรูปแบบ Data Visualization เพื่อให้คนเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรทางกายมากขึ้น

เสริมด้วย ดร.ณรงค์ เทียมเมฆ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และนักวิ่งกิตติมศักดิ์ผู้ไม่เคยห่างหายจากการมีกิจกรรมทางกาย กล่าวว่าจริงๆ แล้ว พื้นที่สาธารณะในไทยเยอะมาก และไม่ต้องเสียเงิน ซึ่งมองว่าอำนวยความสะดวกต่อการมีกิจกรรมทางกาย ซึ่งหากมองย้อนไปในประเพณีวัฒนธรรมของประเทศไทยเอง จะพบว่ามีวิถี รวมถึงการละเล่นต่างๆ ที่สามารถนำมาออกแบบให้เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันได้มากมาย

ปิดท้ายด้วย ดร.นพ.ไพโรจน์ ที่กล่าวว่า การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประชากรทุกช่วงวัย สสส.จึงร่วมกับภาคีเครือข่าย ทั้งในมิติช่วงวัยและมิติเชิงพื้นที่ อาทิ ส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายในชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ การเพิ่มพื้นที่สุขภาวะ โดยร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การณรงค์เพื่อความตระหนักในสังคมด้วยการสื่อสารความรู้ด้านการมีกิจกรรมทางกายถูกวิธี การพัฒนาชุดความรู้ ซึ่งจะใช้ข้อมูลส่วนหนึ่งจาก TPAK มาประกอบการตัดสินใจและกำหนดนโยบายให้เหมาะกับสถานการณ์มากที่สุด รวมถึงการร่วมขับเคลื่อสให้เกิดแผนปฏิบัติการโลกเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (GAPPA) และผลักดันให้เกิดแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย พ.ศ. 2561-2573 เป็นนโยบายระดับชาติ

“เรามีเป้าหมายร่วมกันทั่วโลกผ่าน  GAPPA ที่ทุกประเทศยึดถือ รวมถึงแผนส่งเสริมของไทยเองที่มีชัดเจน แต่การบรรลุเป้าคือโจทย์ยากและท้าทาย เพราะต้องส่งเสริมการกระตุ้นรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นระดับครอบครัว องค์กร ไปจนถึงนโยบาย ขณะเดียวกันเราต้องให้ความสำคัญมิติอื่นเช่นการรณรงค์ รวมถึงการนำนวัตกรรมมาเสริม ให้องค์ความรู้นำไปใช้” นพ.ดร.ไพโรจน์เอ่ยทิ้งท้าย

Let's block ads! (Why?)



"กิจกรรม" - Google News
July 03, 2020 at 01:20PM
https://ift.tt/38omFid

เปิด TPAK ประกาศแผนรุก “เพิ่มกิจกรรมทางกายคนไทย” อีกโจทย์ท้าทายที่ต้องไปให้ถึง - กรุงเทพธุรกิจ
"กิจกรรม" - Google News
https://ift.tt/3eNX6dg
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://koi.prelol.com/

Bagikan Berita Ini

0 Response to "เปิด TPAK ประกาศแผนรุก “เพิ่มกิจกรรมทางกายคนไทย” อีกโจทย์ท้าทายที่ต้องไปให้ถึง - กรุงเทพธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.