Search

หนทางรอด'ยุควิกฤติ' ต้องยึดหลัก'พอเพียง'นำชีวิต - เดลีนีวส์

koi.prelol.com

สถานการณ์ดีขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับการแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย บางวันยอดผู้ติดเชื้อในประเทศเท่ากับ 0 ราย ส่งผลให้มาตรการคุมเข้มต่าง ๆ ของภาครัฐทยอยปลดล็อกกันไปบ้างแล้ว ทั้งนี้ประชาชนห้ามประมาทเด็ดขาด การใส่หน้ากากฯป้องกันตัวเองยังสำคัญมาก ๆ พลาดเมื่อไหร่ระบาดระลอก 2 แน่นอน...พูดถึงผลกระทบจากวิกฤติโควิดฯเรียกได้ว่าโดนกันถ้วนหน้า-ทุกสาขาอาชีพเดือดร้อนกันหมด

ในขณะที่ทุกคนต่างได้รับผลกระทบแล้วแต่จะมากหรือน้อยต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นล็อกดาว-เคอร์ฟิว ตั้งด่านคัดกรองห้ามเข้าออกพื้นที่-กักตัว บางคนออกไปไหนไม่ได้อาหารในบ้านหมดเกลี้ยง ซึ่งช่วงนั้นยังไม่มีตู้ปันสุขเกิดขึ้น สร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก

แต่สำหรับ“วันชัย สุภาพ” อายุ 48 ปี ข้าราชการตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการชำนาญงาน สถานีพัฒนาที่ดินกระบี่ เขาและครอบครัวไม่ได้รับผลกระทบแม้แต่น้อย เนื่องจากเขายึดหลักการทำเกษตรแบบพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิต “ปลูกทุกอย่างที่กิน-กินทุกอย่างที่ปลูก”

วันชัย” บอกว่า เมื่อปี 61 มีสวนยางฯประมาณ 3 ไร่ ตั้งอยู่ที่บ้านคลองทับหัวกา หมู่ 5 ต.กระบี่น้อย อ.เมือง .กระบี่ ด้วยภาวะราคายางฯตกต่ำจึงคิดจะโค่นทิ้ง โดยปรึกษากับครอบครัวว่าหลังจากโค่นต้นยางแล้วจะทำเกษตรผสมผสาน เพราะต้นทุนการปลูกน้อยผลผลิตเติบโตเร็วเป็นที่ต้องการของตลาด ที่สำคัญสามารถนำมาบริโภคได้ในครัวเรือน เหลือก็นำไปขาย สุดท้ายความคิดลงตัวก็ลงมือทำส่งผลให้ชีวิตดีขึ้น

จากวันนั้นถึงวันนี้สวนเกษตรผสมผสานของผมให้ผลผลิตอาทิ กล้วยน้ำหว้า มะละกอ ตะไคร้ ถั่วพลู แตงกวา ชะอม มันสำปะหลัง มะนาว ข้าวโพด ขมิ้น ข่า และพืชผักอื่น ๆ ซึ่งเป็นพืชผักที่สามารถนำมาบริโภคได้ในครัวเรือนและเป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะถั่วพลูเป็นที่ต้องการของตลาดมาก ทุกวันจะมีพ่อค้า-แม่ค้ามารับซื้อถึงหน้าบ้านราคากิโลฯละ 40 บาท บางช่วงราคาสูงถึง 60 บาทต่อกิโลกรัม แม่ค้าจะซื้อไปทำผักเหนาะ และเมนูเด็ดยำถั่วพลู สร้างรายได้ต่อเดือนให้ผมไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท

ข้าราชการพอเพียง บอกต่อว่า ในสวนเกษตรผสมผสานจะมีผลผลิตจากพืชที่ปลูกมากกว่า 10 ชนิด หมุนเวียนกันออกผลผลิตในแต่ละรอบแตกต่างกัน ทำให้มีผลผลิตในสวนนำมาปรุงอาหารได้ทุกวันโดยไม่ต้องซื้อที่เหลือก็เก็บขาย แต่กว่าจะมาถึงวันนี้ตัดสินใจอยู่นาน เนื่องจากอาชีพสวนยางพาราเป็นอาชีพดั้งเดิมของครอบครัว ขณะเดียวกันยังรับราชการอยู่เกรงว่าจะไม่มีเวลาไปทำสวน

เมื่อคิดอยากทำก็เริ่มวางแผนทำการบ้านตั้งแต่ก่อนโค่นยาง โดยเห็นโมเดลโครงการพัฒนาที่ดินของสถานีพัฒนาที่ดินกระบี่ เนื้อที่ 200 ไร่ ในพื้นที่ ต.ปลายพระยา แนวคิดของ ผอ.ประสิทธิ์ แสงภักดี จัดสรรพื้นที่ของรัฐให้ชาวบ้านที่ยากจนไม่มีที่ดินทำกินคนละ 2 ไร่ทำเกษตรผสมผสานตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง ร.9 กลับมาลงมือทำดู วันจันทร์-ศุกร์เป็นเวลาราชการ ใช้เวลาก่อน และหลังเลิกงานทำสวน เสาร์-อาทิตย์ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับสวน เป็นความโชคดีที่สวนกับบ้านอยู่ติดกัน ส่วนที่ทำงานก็อยู่ห่างไม่ถึง 2 กม.จึงมีเวลาดูแลสวน และทำงานโดยไม่เบียดบังเวลาราชการ

พนักงานธุรการฯ บอกด้วยว่า วันนี้มีความสุขกับการทำสวนเกษตรแบบผสมผสานมาก ที่สำคัญมีเวลาอยู่กับครอบครัว โดยพืชผักทุกอย่างที่ปลูกในสวนปลอดภัยจากสารเคมี เนื่องจากปลูกเพื่อบริโภคเอง ทำให้ขายดีทุกวันรายได้เป็นเงินเก็บให้ครอบครัว ส่วนเงินเดือนประจำทั้งของตนและภรรยาก็นำไปใช้ที่จำเป็น และเป็นความโชคดีอีกอย่างก็คือได้ทำงานรับราชการในสถานีพัฒนาที่ดินกระบี่ที่เป็นแหล่งความรู้เกี่ยวกับการเกษตรให้ศึกษาได้อย่างไม่จบสิ้น

ช่วงการระบาดโควิด-19 ร้านค้า-ห้างร้านต่าง ๆ ปิดหมด อีกทั้งพื้นที่ในจังหวัดฯต่างล็อกดาวผู้คนต่างได้รับความเดือดร้อน ณะที่ครอบครัวไม่เดือดร้อนแม้แต่น้อย เนื่องจากมีผัก-ผลไม้กินทุกวัน นอกจากนี้ยังแบ่งปันให้เพื่อนบ้านด้วย อย่างไรก็ตามผมยินดีพร้อมให้คำปรึกษา-ให้ความรู้-แนะแนวกับทุกคนเกี่ยวกับการทำสวนเกษตรผสมผสานโดยยึดหลักความพอเพียงของพ่อหลวง ร.9"

ประสิทธิ์ แสงภักดี” ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินกระบี่ บอกว่า การทำเกษตรผสมผสานตามศาสตร์พระราชาหลักเศรษฐกิจพอเพียงเปลี่ยนจากเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นเกษตรสวนผสมผสานในการเลี้ยงชีพสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัว เหมือนอย่างครอบครัวของวันชัยสามารถเป็นแบบอย่างให้กับข้าราชการ และคนอื่น ๆได้ หากไม่ขี้เกียจ ไม่มีจน-ไม่อดตายแน่นอน บางครั้งการทำงานเกษตรไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่มากก็สามารถนำศาสตร์พระราชามาใช้ได้

โดยนำมาวางรูปแบบการทำเกษตรผสมผสานในการปลูกพืช-เลี้ยงสัตว์ ซึ่งทางหน่วยงานภาครัฐในกระทรวงเกษตรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างยินดีที่จะสนับสนุน สำหรับสถานีพัฒนาที่ดินกระบี่มีโมเดลการจัดรูปแบบที่ดินการทำเกษตรผสมผสานเนื้อที่ 200 ไร่ แบ่งให้ครอบครัวละ 2 ไร่พื้นที่ อ.ปลายพระยา พบว่าชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการฯกำลังเก็บเกี่ยวผลผลิตมีรายได้ครัวเรือนละไม่ต่ำกว่า 300-500 บาทต่อวัน

"วิจิตร แก้วเล็ก" เพื่อนบ้านนายวันชัย  บอกว่า วันชัยเป็นคนขยัน-ไม่เที่ยวเตร่-รักครอบครัว แต่ไม่ทิ้งอาชีพดั้งเดิมคือการทำการเกษตร หลังเลิกงานจะเห็นจับจอบเสียมเดินเข้าสวนทุกวัน เห็นจนเป็นภาพชินตา และได้เข้าไปดูสวนเกษตรผสมผสานของวันชัยพบว่ามีการปลูกพืชหลากหลาย บางชนิดกำลังให้ผลผลิต บางชนิดกำลังปลูกใหม่หมุนเวียนกันตลอด และทึ่งกับแนวคิดที่กล้าโค่นต้นยางทิ้ง หันมาทำสวนเกษตรผสมผสานซึ่งรายได้ดีกว่าทำสวนยาง มีพืชผักกินตลอด เหลือจากขายก็แบ่งให้เพื่อนบ้าน

ย้ำสิ่งเดียวที่จะทำให้ทุกคนรอดจากวิกฤติเศรษฐกิจตอนนี้ และในอนาคตคือการนำหลักของพ่อหลวง ร.9 มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน การพอเพียงมิใช่การประหยัดจนไม่ใช้ไม่จ่ายอะไรเลย เพียงแต่ใช้ในสิ่งที่จำเป็นต้องใช้...หลายครั้งหลายตอนที่ "เหยี่ยวขาว"นำเสนอการปรับตัวของคนในยุคข้าวยากหมากแพง ทุกคนประสบความสำเร็จมีชีวิตเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเพราะใช้ศาสตร์พระราชาหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้.

........................................
อลัมน์ คนดีของสังคม
โดย“เหยี่ยวขาว”
ข้อมูล-ภาพ“วิชัย มังคะลา”เดลินิวส์ออนไลน์ จ.กระบี่

Let's block ads! (Why?)



"หลัก" - Google News
June 06, 2020 at 10:00AM
https://ift.tt/2AanzSK

หนทางรอด'ยุควิกฤติ' ต้องยึดหลัก'พอเพียง'นำชีวิต - เดลีนีวส์
"หลัก" - Google News
https://ift.tt/3cQVaPs
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://koi.prelol.com/

Bagikan Berita Ini

0 Response to "หนทางรอด'ยุควิกฤติ' ต้องยึดหลัก'พอเพียง'นำชีวิต - เดลีนีวส์"

Post a Comment

Powered by Blogger.