Search

ปลุกสังคม-ธุรกิจ-สื่อ อุดช่องโหว่ “ข้อมูลส่วนบุคคล”รั่วไหล ก่อนกฎหมายบังคับใช้ 31 พ.ค.64 - สยามรัฐ

koi.prelol.com

เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.63 เวลา 10.00 น.ที่ห้องอิศรา อมันตกุล ชั้น 3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรมราชดำเนินเสวนา หัวข้อ เลื่อน "คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล" ต้องเตรียมตัวอย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย โดยมีนายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เป็นคณะวิทยากร โดยมีนายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฎิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวฯเป็นผู้ดำเนินการเสวนา

โดยการจัดเสวนาดังกล่าว ภายหลังรัฐบาลตัดสินใจขยายเวลาการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ในบางหมวดออกไปอีก 1 ปี โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 พร้อมกับออก พ.ร.ฎ.กำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 พ.ศ.2563 มาเป็นเกราะป้องกันให้บางหน่วยงาน หรือบางกิจการ รวมกว่า 22 ประเภทที่ตอนนี้ยังไม่มีความพร้อมปฏิบัติตามกฎหมายใหม่ให้สามารถทำงานต่อไปได้

นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม(ดีอีเอส) กล่าวว่า กฎหมายพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดย ครม.เห็นชอบในหลักการออก พ.ร.ฎ.ยกเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในบางหมวด เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งกฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องใหม่ของบ้านเราในการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ป้องกันการถูกละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เพื่อสร้างการยอมรับในมาตรฐานสากลต่อนานาประเทศ โดยสาเหตุการเลื่อนกฎหมายฉบับนี้ มาจากความไม่พร้อมจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน รวมถึงการเลื่อนไปเพราะสถานการณ์โรคระบาดไวรัสโควิด ทำให้สถานประกอบการมีสิ่งที่ต้องฟื้นฟูธุรกิจของตัวเอง

"ในพ.ร.บ.ข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้มีคณะกรรมการ 3 ชุด โดยหนึ่งในนั้นจะมีคณะกรรมการเชี่ยวชาญชุดหนึ่ง มารับเรื่องร้องเรียน ไกล่เกลี่ย เจรจา เพราะตามโทษมีทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง จากนี้เรามีเวลาอีก 1 ปี ก่อนที่กฎหมายจะบังคับใช้ ทุกอย่างมีกฎหมายคุ้มครองส่วนบุคคลในเรื่องอื่นอยู่แล้ว ดังนั้นประชาชนต้องทำความเข้าใจกฎหมายฉบับนี้ โดยขอให้อ่านให้ละเอียดก่อนจะยินยอมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ขณะที่ภาครัฐและภาคธุรกิจต้องศึกษาเพื่อวางกระบวนการแนวทางจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้ แต่ยอมรับว่าขณะนี้เป็นห่วง SME ขนาดเล็ก เพราะจะมีคนนำช่องว่างทางกฎหมายมาใช้ประโยชน์ ทำให้การเตรียมตัวเป็นเรื่องสำคัญ"

นายภุชพงค์ กล่าวด้วยว่า ในต่างชาติระวังเรื่องสิทธิส่วนบุคล ดังนั้นขอให้ทุกคนอ่านก่อนยินยอมให้ชัดเจน โดยสถานประกอบการต้องวางระบบที่ปลอดภัย ส่วนภาครัฐต้องระวังมากขึ้นในการดำเนินการ ส่วนประโยชน์สาธารณะกับส่วนบุคคลต้องระวังมากขึ้นเช่นกัน ต้องตระหนักในเรื่องการไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เรื่องลิขสิทธิ์ หรือการหมิ่นประมาทด้วย

นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ นักกฎหมายผู้เชี่ยวชาญกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์กล่าวว่า ภายใน 1 ปีจากนี้กฎหมายฉบับนี้จะเกี่ยวข้องกับประชาชนและกิจการที่ทำธุรกิจ โดยแต่ละธุรกิจจะต้องเตรียมตัวเพื่อวางระบบป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล แต่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องบังคับใช้ต้องพิจารณาว่า กิจการของเรามีข้อมูลส่วนบุคคลอะไรบ้าง ซึ่งทุกที่จะมีข้อมูลส่วนบุคคลมาจาก 6 หลักเกณฑ์ ประกอบด้วย 1.ลูกจ้างขององค์กร ซึ่งต้องได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของก่อน 2.สัญญา ซึ่งเป็นสัญญาจ้างงาน 3.ตามกฎหมายจะกำหนดไว้อย่างไร 4.เพื่อประโยชน์ชีวิตร่างกาย 5.เพื่อประโยชน์สาธารณะ 6.เพื่อประโยชน์โดยชอบธรรมทางกฎหมาย

“พวกเราชอบใช้ไลน์ใช้โซเชียลมีเดีย ยกตัวอย่างหากมีสถานประกอบการเสริมความงามแห่งหนึ่ง หากมีการใช้ภาพข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าในร้านถูกส่งออกไป ถือว่าผิดกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลทันที ดังนั้นข้อมูลที่ได้มาทั้งลูกจ้างหรือลูกค้าสถานประกอบการ จะดูแลข้อมูลอย่างไร ส่วนกฎหมายฉบับยกเว้นสื่อสารมวลชนที่ทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนตามประมวลจริยธรรมสื่อ แต่ไม่ได้ยกเว้นบล็อกเกอร์ บนอินเตอร์เนต ไม่ได้ยกเว้นกับสื่อส่วนตัว หรือสื่อที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน”

นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการขึ้นมา 1 ชุดเพื่อมาดูแลว่าการใช้สิทธิเป็นอย่างไร ขณะนี้มีเวลาเตรียมความพร้อม 1 ปี โดยภาคเอกชนต้องมีกระบวนการเก็บข้อมูลตามมาตรฐานที่กระทรวงดีอีเอสเป็นผู้กำหนด ถ้ามีข้อมูลรั่วไหลไปแต่องค์กรได้จัดเก็บข้อมูลเป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงดีอีเอสแล้ว จะถือว่าไม่มีความผิดเพราะถูกแฮคเกอร์ข้อมูลไป แต่กรณีนี้ภาคเอกชนต้องแจ้งภายใน 72 ชั่วโมงเพื่อให้คณะกรรมการรับทราบ

“กฎหมายฉบับนี้มีขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล และสร้างจิตสำนึกขั้นต่ำในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้นต้องเป็นสิ่งที่ต้องระวัง แต่การปรับใช้กฎหมายฉบับนี้ไม่ยุ่งยาก แต่กิจการแต่ละแห่งอย่ารอ ต้องออกระเบียบประมวลกฎหมายของตัวเองขึ้นมาเฉพาะ ก่อนที่กฎหมายบังคับใช้ ดังนั้นจากนี้ไม่ต้องรอ 1 ปีขอให้ทำก่อน 31 พ.ค.ปี 2564”

ขณะที่นายระวี ตะวันธรงค์ นายกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์กล่าวว่า สื่อวิชาชีพมีระเบียบวิชาชีพรองรับ ก่อนหน้านี้หากไปขอข้อมูลไม่ได้เขียนหนังสือยินยอมอะไร แต่หลังจากนี้จะต้องมีการอนุญาตให้ใช้ข้อมูลชัดเจน แต่สิ่งที่น่ากังวลมีสื่อออนไลน์เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการเกิดขึ้นจากสื่อออนไลน์ หรือเพจต่างๆ หากไปนำคอนเทนต์มาแชร์ถ้าไม่ศึกษาให้ดีๆ จะผิดกฎหมายทันทีโดยไม่รู้ตัว เชื่อว่าหลังจากนี้ถ้ามีการบังคับใช้กฎหมายพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในปีหน้า จะมีคนมาเปิดสื่อออนไลน์น้อยลง

“เรื่องนี้เป็นเรื่องจิตสำนึกจริงๆในเรื่องที่สื่อจะเผยแพร่ออกไป แต่ความน่ากังวลอยู่ที่ใครที่อยากจะทำสื่อใหม่ แต่ไม่รู้กระบวนการเหล่านี้เช่น ไปเปิดกลุ่มเฟสบุ๊คขึ้นมาเพื่อแจ้งข่าว แต่กลับเป็นเรื่องส่วนตัวจะเป็นเรื่องผิดแล้ว ซึ่งกระบวนการมีเวลา 1 ปีในการเตรียมความพร้อม ดังนั้นหากใครอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขอให้มาสมัครเป็นสมาชิกสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถือเป็นความรู้พื้นฐานของคนทั่วไปทั่งโลก เมื่อสื่อออนไลน์ไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัว ถ้าเข้าใจแล้วเราจะรู้ว่าข้อมูลส่วนตัวจะเผยแพร่ได้หรือไม่ จึงเป็นเรื่องใหญ่อยากให้ทุกคนเข้าใจร่วมกัน”

Let's block ads! (Why?)



"ภาคบังคับ" - Google News
June 07, 2020 at 05:58PM
https://ift.tt/2Y99xsz

ปลุกสังคม-ธุรกิจ-สื่อ อุดช่องโหว่ “ข้อมูลส่วนบุคคล”รั่วไหล ก่อนกฎหมายบังคับใช้ 31 พ.ค.64 - สยามรัฐ
"ภาคบังคับ" - Google News
https://ift.tt/2YaK1os
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://koi.prelol.com/

Bagikan Berita Ini

0 Response to "ปลุกสังคม-ธุรกิจ-สื่อ อุดช่องโหว่ “ข้อมูลส่วนบุคคล”รั่วไหล ก่อนกฎหมายบังคับใช้ 31 พ.ค.64 - สยามรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.